"ข้าวยำ ในงานบุญกฐิน เดือน 11 ที่เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชน ตั้งแต่การหาวัตถุดิบไปจนถึงการปรุงและแจกจ่ายคนที่มาทำบุญในช่วงกฐิน งานบุญกฐิน วัดเบิกจัดขึ้นทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 แรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านในชุมชนรายรอบวัดได้มีการรวมตัวกันก่อนวันบุญ 1 วันเพื่อร่วมการห่อต้มและข้าวเหนียวห่อกล้วย เพื่อเป็นอาหารแจกจ่ายคนที่มาร่วมบุญในวันรุ่งขึ้น และชาวบ้านต่างก็ยกปิ่นโตข้าวปลาอาหารทั้งคาวและหวาน (เมนูพื้นบ้าน) มาทานร่วมกันหลังเสร็จพิธีบุญ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประมาณ พ.ศ. 2555 เจ้าอาวาสวัดเบิก (พระครู) ได้เชิญชวนให้ชาวบ้านเริ่มทำข้าวยำใบไม้ เนื่องจาก เดือน 11 เป็นฤดูกาลที่ใบไม้ออกยอดอ่อนน่ารับประทานที่สุดในรอบปี หลายบ้านนิยมทำข้าวยำทานกินในฤดูนี้ที่บ้าน ทางเจ้าอาวาสเลยเชิญชวนให้มาร่วมกันทำข้าวยำเพื่อแจกจ่ายและเลี้ยงคนที่มาร่วมบุญในงานทอดกฐิน โดยเริ่มก่อนวันงานบุญกฐิน 1 วัน ชาวบ้านจะมาช่วยกันหั่นใบไม้ ผสมเครื่องคลุก โดยวัตถุดิบก็ได้จากการที่ชาวบ้านช่วยกันหามาร่วมบุญบ้านละอย่างสองอย่าง จนข้าวยำได้รับความนิยมมากทุกปีนับจากนั้น ทางวัดจึงได้รับเครื่องหั่นใบไม้เพื่อลดเวลาในการหั่นของชาวบ้านลง ดังนั้นอาหารที่ปรากฏในประเพณีบุญกฐินของวัดเบิก ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ข้าวยำ เป็นหลัก และมีเมนูขนมเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ขนมต้ม ข้าวเหนียวห่อกล้วย สำรับของชาวตำบลฉลองที่นำมาทำบุญ ส่วนใหญ่เป็นการยกปิ่นโตโดยต่างคนต่างทำเมนูต่างๆ มาร่วมทานกันในวัดเช่นเดิม"
จับต้องได้ : Tangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
.
เลขที่ : หมู่ที่ 4 ต. ฉลอง อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราช 80120
พระครูวิศาลธรรมจารี
อนุชสรา เรืองมาก : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ :