1.ศาลาฤาษี หรือศาลาฤาษีดัดตน เป็นศาลาโถงทรงไทย เปิดโล่งก่อด้วยอิฐเผาสอปูน แต่ไม่โบกปูนปิดทับพื้นผิว มีช่วงเสาแบบซุ้มโค้งรอบอาคาร มีลักษณะคล้ายกันกับศาลาฤาษีที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ สร้างสมัยพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) ระหว่างปี พ.ศ. 2390 – พ.ศ. 2408 2.ศาลาฤาษี จะมีหน้าบันด้วยกัน 2 ด้าน หน้าบันเป็นลายรูปปั้นพุทธประวัติ โดยทางด้านตะวันออก เป็นรูปพระพุทธเจ้า ทรงลอยถาดในแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อเสี่ยงทายว่าพระองค์จะบำเพ็ญเพียรธรรมะจนตรัสรู้หรือไม่ ส่วนทางด้านตะวันตก เป็นรูปพระพุทธเจ้า ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา 3.ศาลาฤาษีดัดตน ภายในศาลามีภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นบนผนังปูนมีรองพื้น เป็นเรื่องตำราแพทย์โบราณ และภาพฤาษีดัดตนรวม 40 ท่า แต่ละภาพจารึกด้วยโคลงสี่สุภาพอธิบายประกอบอยู่ใต้ภาพ คำโคลงเหล่านี้เลือกคัดลอกมาจาก เรื่องโคลงภาพฤาษีดัดตน ที่จารึกไว้บนผนังศาลารายในวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เขียนเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2406 ต่อมามีสภาพชำรุด พระราชศีลสังวร บริจาคทรัพย์ร่วมกับเงินงบประมาณของกรมศิลปากร บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2522 ที่มา : www.bloggertrip.com/matchimawattemple/
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
.
เลขที่ : ถนนไทรบุรี อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000
อาจารย์สืบสกุล ศรีสุข
081 276 7935
ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :