พื้นที่หาดสมิหลาเป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดสงขลาคู่กับเมืองสงขลา ด้วยความที่จังหวัดสงขลามีพื้นที่ติดทะเล จึงมีตำนานเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับท้องทะเล เช่น นางเงือก โดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้บอกเล่าไว้ว่า ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย จากเรื่องเล่านี้ เมื่อปี พ.ศ.2509 นายชาญ กาญจาคพันธุ์ ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย ได้ดำริให้ อาจารย์ จิตร บัวบุศย์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง เป็นผู้ปั้นประติมากรรมนางเงือกทองนั่งหวีผม โดยหล่อจากบรอนซ์รมดำ ใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาท ตั้งชื่อว่า “เงือกทอง” หรือ "Golden Mermaid" เพื่อเป็นสัญลักษณ์และจุดท่องเที่ยวของแหลมสมิหลามาจนถึงทุกวันนี้ และต่อมาจึงได้มีตำนานเมืองที่
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature ตำนานพื้นบ้าน
.
เลขที่ : หาดสมิหลา ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000
อาจารย์วุฒิชัย เพชรสุวรรณ
089 738 5065
ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :