บ้านส่วย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมาย เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณโดยมีลักษณะเป็นเนินดินทรงกลม จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าบริเวณบ้านส่วยมีการอยู่อาศัยของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยสำริด - สมัยเหล็ก มีอายุราว 3,000 - 1,500 ปี ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าเมืองพิมาย และมีการพบภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาที่มีเอกลักษณ์คือการทำสีดำและขัดมัน โดยพบการใช้ภาชนะดินเผาลักษณะดังกล่าวเป็นจำนวนมากในพื้นที่ชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ในแถบเมืองพิมาย รวมไปถึงแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดนครราชสีมาไปจนถึงแถบลุ่มแม่น้ำลพบุรี - ป่าสัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของบ้านส่วยและชุมชนโบราณในบริเวณใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี โดยนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ชุมชนบ้านส่วยเป็นชุมชนที่ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับสังคมภายนอกสิ่งของที่ได้มาคือเปลือกหอยทะเล นิยมนำมาใช้ทำเครื่องประดับ ปัจจุบันบ้านส่วยมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์บ้านส่วยในเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและประวัติชุมชน โดยมีการจัดแสดงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน หลักฐานทางโบราณคดี ชาติพันธุ์ รวมไปถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านในชุมชน
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture พิพิธภัณฑ์
.
เลขที่ : ต. ในเมือง อ. พิมาย จ. นครราชสีมา 30110
พหลยุทธ บุตรจู : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน : 2566 Advance Track