“อุทยานธรรมชาติวิทยา” เป็นโครงการในพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในดินแดนของชาวกะเหรี่ยง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของทรัพยากร ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ทั้งทรงเห็นว่า ควรเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมและดำเนินการในรูปแบบของป่าชุมชน เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นได้เป็นผู้ดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นด้วยตนเอง อันจะนำไปสู่ความรัก ความหวงแหนที่จะรักษามรดกที่ธรรมชาติให้ไว้สืบไป (วิชาติ บูรณะประเสริฐสุข, เรื่องเล่าจากชายแดนไทยพม่า, หน้า 25) สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าและภูเขาที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี สูงจาก ระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 210-1,150 เมตร มีความลาดชันส่วนใหญ่มากกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ เป็นแหล่งกำเนิดของลุ่มน้ำย่อยๆ เช่น ลุ่มน้ำห้วยบ่อหวี ลุ่มน้ำห้วยบ่อคลึง ลุ่มน้ำห้วยคอกหมู ลุ่มน้ำห้วยค้างคาว โดยลุ่มน้ำเหล่านี้จะไหลลงสู่แม่น้ำภาชีซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ โดยเป็นแหล่งอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า เนื่องจากเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างผืนป่าตะวันตก (Western Forest Complex) กับผืนป่าแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Forest Complex) อยู่ในเขตรอยต่อทางชีวภูมิศาสตร์ (Biogeographical Zone) คือ อินโด-ไชนิส (Indo-Chinese) ชิโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) อินโด-เบอร์มิส (Indo-Bermese) และอินเดียตะวันออก (Eastern Indian) เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุ์สัตว์และพืชที่มีความโดดเด่น เช่น นกภูหงอนพม่า นกเงือกกรามช้างปากเรียบ เป็นต้น
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.
เลขที่ : หมู่ 7 บ้านห้วยผาก ต. สวนผึ้ง อ. สวนผึ้ง จ. ราชบุรี 70180
หัวหน้าสุเทพ ไกรเทพ หัวหน้าสำนักโครงการอุทยานธรรมชาติวิทยา
063-224-0917
นันทนา บุญลออ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี :