ป้าเย็น หรือนางหงสาวดี อายุ 70 ปี เป้นบุคคลากรสำคัญที่ช่วยถ่ายทอดและฝึกสอนการรำมอญให้กับเด็กๆในชุมชนบ้านตะโกล่าง เริ่มจากตอนที่ป้าเย็นไปเที่ยวชายแดนแถวสังขละบุรี แล้วเห็นมี CD การรำขาย จึงซื้อมาเพราะคืดว่า เราก็น่าจะฝึกให้เด็กๆได้รำตามนางรำที่ปรากฏใน CD ได้ โดยที่ป้าเย็นเองไม่ได้เป็นนางรำมาก่อน แต่การได้ดูการรำมอญ ชดเชยความคิดถึงบ้านที่ฝั่งพม่าได้ ในช่วงยุคแรก มี 3 คนที่ช่วยกันสอน คือ ป้าเย็น ยายแง (เสียชีวิตไปแล้ว) ป้าเซ็ม โดยยายแงเป็นคนเคาะไม้ให้จังหวะ เพราะตอนนั้นไม่มีเครื่องดนตรี แม่เซ็ม เป็นคนช่วยเย็บชุดเสื้อผ้าลูกไม้สีขาวให้นางรำ ส่วนป้าเย็นช่วยหาซื้อเสื้อนางรำ โดยชุดนางรำสมัยนั้น เป็นเพียงใส่ผ้าถุงแดงดำแบบมอญ เสื้อลูกไม้สีขาวแขนสั้น เรียบๆ ในตอนนั้นมีเด็กมารำด้วยกัน 4 คน หนึ่งในนั้นก็คือลูกสาวพี่สาวที่เป็นหลานห่างๆของป้าเย็น (ลูกสาวพี่สาวชื่อเฟิร์น) อยู่ป.6 โดยมาฝึกรำที่บ้านป้าเย็น และได้ไปแสดงรำที่ห้างโรบินสัน ที่โรงเรียนสินแร่สยามในช่วงวันพ่อ วันแม่แห่งชาติ รวมทั้งได้ไปรำร่วมกับงานของชาวกะเหรี่ยงที่คริสตจักรห้วยคลุม และไร่กุหลาบอุสาวดีด้วย การแสดงยุค 2 มีพี่สาว ครูนิด ครูปอ (แฟนครูนิด) และครูวัน จากโรงเรียนบ้านตะโกล่าง ร่วมเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง โดยครูนิดเป็นคนจัดหาชุด ชุดนางรำเป็นผ้าสีแดงคาดตรงอก นางรำถือใบไม้ การแสดงชุดนี้ตั้งชื่อว่า รำไหว้บรรพบุรุษมอญ ตอนนั้นมีการนำคณะนางรำไปรำในหลายสถานที่ ทั้งที่บ้านบ่อ ตามงานรีสอร์ตและงานประเพณีกินข้าวห่อ รวมทั้งงานวันพ่อและวันแม่แห่งชาติ การแสดงยุค 3 นี้ มีหัวเรี่ยวหัวแรง คือ ครูบัญชา ครูนิก ย้อย ที่พากันไปรำ มีการ รำหงลีลา และอีก 2-3 เพลง นางรำสวมใส่ชุดผ้าถุงลายแดงดำ เสื้อมีหลายสี ทั้งสีขาว สีเหลือง สีฟ้า สำหรับทรงผมของนางรำ เป้นผมเกล้า ประดับด้วยดอกไม้สีขาว ที่ป้าเย็นและเพื่อนนำดอกพุดสีขาวมาร้อยต่อ ๆ กันให้เป็นสาย บางครั้งก็นำเอาเม็ดโฟมมาร้อยต่อกันให้เป็นเส้นเสริมให้สวยงาม มีผู้รำประมาณ 9 คน เป็นผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 8 คน ช่วงที่ออกไปรำนอกพื้นที่ เด็กๆ จะได้ทิปกันราว 500-700 บาท/คน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts นาฏศิลป์และการละคร
.
เลขที่ : หมู่ 8 บ้านตะโกล่าง ต. สวนผึ้ง อ. สวนผึ้ง จ. ราชบุรี 70180
นางหงสาวดี และพี่สาว หงษา
080-639-6434
นันทนา บุญลออ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี :