เทศบาลนครสงขลา ทำพิธีห่มผ้าองค์พระเจดีย์หลวงบนยอดเขาตังกวน ในช่วงเทศกาลออกพรรษา เพื่อความเป็นสิริมงคลในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของประชาชน ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ ทั้งอุทกภัยและวาตภัย ในช่วงฤดูมรสุมที่กำลังจะมาถึงด้วยสำหรับพิธีห่มผ้าองค์พระเจดีย์หลวงบนยอดเขาตังกวน เทศบาลนครสงขลา ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลออกพรรษา ก่อนที่จะเริ่มงานประเพณีลากพระและตักบาตรเทโวในวันพรุ่งนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของประชาชนชาวสงขลา รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเจดีย์หลวงบนยอดเขาตังกวน ให้เป็นแหล่งรวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้เป็นที่สักการะบูชาแก่ชาวนครสงขลา องค์พระเจดีย์หลวงบนยอดเขาตังกวน ในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินหลวงให้พระยาวิเชียรคีรี ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาที่ห้า บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นให้สูงใหญ่กว่าของเก่า สิ้นเงินหลวงสามสิบเจ็ดชั่งสี่ตำลึง แต่คฤห์สองคฤห์กับเก๋งสี่มุมกำแพงแก้วเป็นของพระยาวิเชียรคีรี ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ทำทูลเกล้าฯถวายเข้าในพระเจดีย์หลวง คิดเป็นเงินสิบเอ็ดชั่งสามตำลึง รวมทั้งเงินหลวงทำพระเจดีย์และเงินทำคฤห์ทำเก๋งเป็นเงินสี่สิบแปดชั่งเจ็ดตำลึง การทั้งนี้ สำเร็จในปีขาล อัฐศกจุลศักราช พันสองร้อยยี่สิบแปด สำหรับองค์พระเจดีย์หลวงได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ในองค์พระเจดีย์ด้วย
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
.
เลขที่ : เขาตังกวน ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000
ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :