กำแพงเมืองสงขลาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2379 (ปัจจุบัน พ.ศ. 2565 มีอายุครบ 188 ปี) ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ชั่ง ให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เจ้าเมืองสงขลาในขณะนั้น ได้ย้ายที่ตั้งเมืองสงขลาจากบริเวณบ้านแหลมสน ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร มาสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา ในปัจจุบัน ลักษณะของกำแพงเมืองสงขลาเป็นการก่อด้วยหินภูเขาสอด้วยปูน ลักษณะของกำแพงจะมีเชิงเทินใบเสมาเป็นรูปป้อม มีป้อม 8 ป้อม แต่ละป้อมมีปืนใหญ่กระสุน 4 นิ้ว ป้อมละ 3-4 กระบอก ประตูเมืองเป็นซุ้มใหญ่ 10 ประตู กับมีประตูเล็กหรือประตูช่องกุด อีก 10 ประตูโดยรอบ กำแพงด้านทิศเหนืออยู่ริมตามแนวถนนจะนะจดกำแพงด้านตะวันตกตรงถนนนครใน และจดกำแพงด้านตะวันออกตรงถนนปละท่า ด้านทิศตะวันออกอยู่ริมตามแนวถนนรามวิถีจดกำแพงด้านทิศใต้ที่ถนนกำแพงเพชร (วัดหัวป้อม) ด้านทิศใต้ตามแนวถนนกำแพงเพชรจดกำแพงด้านตะวันตกที่ถนนนครนอก และกำแพงด้านตะวันตกเลียบถนนนครใน แล้วเลาะแนวถนนนครในไปจดกำแพงด้านทิศเหนือ โดยกำแพงเมืองเวลานั้นอยู่ห่างจากน้ำประมาณ 40 เมตร กำแพงจากด้านทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาวประมาณ 1,200 เมตร ด้านทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 1,000 เมตร มีป้อม 8 ป้อม อยู่มุมเมือง 8 ป้อม ด้านตะวันออกและตกอีกด้านละ 2 ป้อม ตัวป้อมกว้างและยาว 10 เมตร มีประตูเมืองเป็นซุ้มใหญ่โดยรอบ 10 ประตู แต่ละประตูกว้าง 3 เมตร สูง 6 เมตร ซุ้มเป็นหลังคาจีน บนกำแพงประกอบด้วยใบเสมาสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 1.5 เมตร และมีประตูช่องกุดอีก 10 ประตู แต่ละประตูกว้าง 2 เมตร สูง 2.50 เมตร ชื่อประตูเมืองสงขลาที่ปรากฏหลักฐานในเอกสารโบราณ ได้แก่ 1. ประตูพุทธรักษา 2. ประตูสุรามฤทธิ์ 3. ประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ 4. ประตูอัศนีวุธ 5. ประตูชัยยุทธชำนะ 6. ประตูบูรภาภิบาล 7. ประตูสนานสงคราม 8. ประตูพยัคฆนามเรืองฤทธิ์ 9. ประตูจัณทิพิทักษ์ 10. ประตูมรคาพิทักษ์ กำแพงเมืองเก่าสงขลา ประกาศขึ้นทะเบียน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมืองสงขลา ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ตอนที่75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หน้า 3713 ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมืองสงขลา ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 93 ตอนที่ 112 วันที่ 21 กันยายน 2519 หน้า 2567 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 17 ตารางวา
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
.
เลขที่ : ต. อ. จ. สงขลา 90000
อาจารย์วุฒิชัย เพชรสุวรรณ
089 738 5065
ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :