พระยืน วัดพุทธมงคล พระพุทธมงคล ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์บนเนินดินภายในวัดพุทธมงคล สูงประมาณ 4 เมตร สันนิษฐานว่าเนินดินใต้ต้นโพธิ์เดิมอาจเป็นสถูปเจดีย์ในศิลปะสมัยทวารวดี สลักจากหินทราย มีเค้าพระพักตร์เป็นรูปทรงกระบอก องค์พระพุทธรูปยืนเอียงแบบตริภังค์ ครองจีวรห่มเฉียง ชายผ้าสังฆาฏิทำเป็นจีบซ้อนและทิ้งชายผ้ายาวเลยพระนาภี (หน้าท้อง) พระหัตถ์ซ้ายขนานกับพระวรกาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปวัฒนธรรมทวาราวดีในช่วงปลายที่ผสมผสานกับศิลปะแบบท้องถิ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 ส่วนพระพักตร์และพระหัตถ์ขวาที่ชำรุดได้รับการซ่อมบูรณะเมื่อปี พ.ศ.2460 ตามความเข้าใจของชาวบ้านผู้ที่มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา โดยให้พระหัตถ์ขวาจับบริเวณพระนาภี (หน้าท้อง) ทำให้แบบแผนขององค์พระพุทธรูปผิดไปจากพุทธลักษณะแบบดั้งเดิม เพราะการสร้างพระพุทธรูปยืนให้พระหัตถ์ขวาจับที่พระนาภี (หน้าท้อง) นั้นไม่เคยปรากฏตามแบบแผนพุทธลักษณะแบบดั้งเดิม ถ้าพระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ (หน้าอก) จะเป็นการแสดงปางประทานอภัยหรือปางแสดงธรรม หรือถ้าผายพระหัตถ์ค่อนไปด้านหน้าเพื่อแสดงปางประทานพร ปัจจุบันพระยืนวัดพุทธมงคลเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองของกันทรวิชัย มีผู้คนเข้ามากราบไหว้สักการะอย่างเนืองแน่น
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณวัตถุ : AA : Archeological Artefact .
เลขที่ : บ้านสระ ต. คันธารราษฎร์ อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม 44150
นายประหยัด นาเรือง
0818727041
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม :