PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : AS-94000-00037 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

มัสยิดกรือเซะ
Krue-Se Mosque

มัสยิดกรือเซะ มีตำนานเล่าถึงเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถสร้างมัสยิดให้เสร็จว่า ในอดีตมีชาวจีนคนหนึ่ง ชื่อว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยม ได้ล่องเรือมาค้าขายที่เมืองกรือเซะ จากนั้นได้รกรากอาศัยอยู่ที่เมืองกรือเซะ ลิ้มโต๊ะเคี่ยมอาศัยอยู่ที่เมืองกรือเซะเป็นเวลานาน จึงได้แต่งงานกับพระธิดาของพระยาตานี และได้เข้ารับศาสนาอิสลาม ด้วยลิ้มโต๊ะเคี่ยมมีความสามารถเป็นช่าง จึงได้รับมอบหมายให้เป็นคนสร้างมัสยิดกรือเซะขึ้นมา ฝั่งน้องสาวลิ้มโต๊ะเคี่ยม คือ ลิ้มกอเหนี่ยว ที่อยู่กับมารดาที่เมืองจีน เห็นว่ามารดาชราและคิดถึงลูกชาย จึงอาสาออกไปตามพี่ชายให้กลับเมืองจีน แต่เมื่อมาถึงเมืองปัตตานี ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้ปฏิเสธที่จะกลับ เพราะมัสยิดยังสร้างไม่เสร็จ จะขออยู่ต่อจนกว่าจะสร้างมัสยิดเสร็จ ลิ้มกอเหนี่ยวจึงมีความเสียใจ จึงได้ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมะพานต์ พร้อมทั้งสาปแช่งให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นทุกครั้งที่ลิ้มโต๊ะเคี่ยมสร้างมัสยิดใกล้เสร็จ ฟ้าก็จะผ่าหลังคามัสยิด โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นถึงสามครั้ง ทำให้ไม่สามารถสร้างมัสยิดกรือเซะได้สำเร็จ คำว่ากรือเซะ เพี้ยนมาจากคำว่า กรือเซะห์ เป็นภาษามลายู มีความหมายว่า สะอาดบริสุทธิ์ เมืองกรือเซะที่มีเจ้าเมืองมาปกครอง ได้ก่อกำเนิดขึ้นในช่วงสมัยการปกครองของพระยาอินทิรา โดยคำบอกเล่าของนายมาหามุ สาและ อายุ 50 ปี พนักงานดูแลโบราณสถาน และนายอาฮามะ ฮะซา อายุ 34 ปี เจ้าหน้าที่โบราณสถาน ว่าในสมัยช่วงปลายของศูนย์กลางที่ตั้งเมืองลังกาสุกะนั้น ซึ่งมีเมืองหลวงของลังกาสุกะ ชื่อ โกตามะห์ลิฆัย (ปัจจุบันคือเมืองยะรัง) พระยาอินทิรา ที่ปกครองเมืองในสมัยนั้นมีความคิดที่จะย้ายที่ตั้งของเมืองลังกาสุกะ เนื่องจากการคมนาคมทางการค้าที่ไม่ค่อยสะดวกในการเข้าถึงเมืองยะรัง ซึ่งเรือใหญ่ไม่สามารถผ่านคลองที่รองรับการสัญจรของเรือขนาดเล็กเท่านั้น แต่ยังไม่รู้ว่าจะย้ายไปแห่งใด พระยาอินทิราได้ยินคำร่ำลือว่ามีประชาชนชื่อ โต๊ะกาซอ ได้ชักชวนชาวเมืองย้ายไปตั้งรกรากไปยังแถบชายหาด โดยได้บอกกับชาวเมืองว่าแถบชายหาดมีความเจริญสมบูรณ์ทางด้านธรรมชาติ และการค้าขาย มีพ่อค้าจากหลากหลายประเทศเข้ามาทำการค้าขาย พระยาอินทิราได้ยินดังนั้น จึงเกิดความไม่พอใจต่อโต๊ะกาซอเป็นอย่างมาก ที่ได้ชักชวนชาวเมืองย้ายออกไปจากถิ่นฐานเดิม จึงได้สั่งให้ประหารโต๊ะกอซอ แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระยาอินทิราก็ได้ย้ายไปอยู่ยังสถานที่ดังกล่าวตามคำบอกเล่าของโต๊ะกาซอ ประกอบกับพระยาอินทิราชอบการล่าสัตว์ จึงได้ออกไปล่าสัตว์ ณ หมู่บ้านเปาะตานี ได้พบกับกระจงขาวตัวหนึ่ง แต่กระจงขาวได้วิ่งหนีหายบริเวณชายหาด จึงได้สั่งให้ทหารออกตามหากระจงขาวดังกล่าว พระยาอินทิราได้สอบถามทหารว่าพบกระจงขาวหรือไม่ ทหารจึงตอบไปว่า Helae di Panta ni ซึ่งในสมัยนั้นจะใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร แปลว่า กระจงขาวได้หายที่ชายหาดนี้ พระยาอินทิราจึงได้เดินทางไปดูยังสถานที่ๆ กระจงขาวหายตัวไป พระยาอินทิราจึงได้พบกับหาดทรายขาว จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองกรือเซะห์ หรือกรือเซะในปัจจุบัน ทำให้พระยาอินทิราตัดสินใจย้ายเมืองลังกาสุกะจากยะรัง มายังกรือเซะห์ และได้สร้างเมืองกรือเซะห์ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านการค้า เป็นแหล่งค้าขายของชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย ฮอลันดา และกลุ่มชาติตะวันออกกลาง อย่างเปอร์เซีย ทางกรมศิลปากรได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.2478 และทำการบูรณะซ่อมแซม เพื่อให้ มัสยิดกรือเซะ ยังคงสภาพเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานี และสามารถใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจได้ต่อไป



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

โบราณสถาน : AS : Archeological Site โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
ย่านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
ย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านกรือเซะ หมู่ที่ 2 ตำบลตันหยงลูโละ ต. ตันหยงลุโละ อ. เมืองปัตตานี จ. ปัตตานี 94000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

aruneewan.n@psu.ac.th

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

aruneewan : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี : 2564 ป.2

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :489 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 13/05/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 05/06/2024