ศาลเจ้าพ่อพระเพลิง (เก่า) ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นศาลเจ้าประเพณีเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนฉาบทรายล้างขนาดเล็กหลังเดียวพร้อมแท่นบูชา มีปูนปั้นมังกรและลูกแก้วประดับบนสันหลังคา มีศาลาสำหรับแท่นปักธูป สภาพอาคารค่อนข้างทรุดโทรม ลายปูนปั้นมังกรเริ่มหลุดกระเทาะ ผนังเริ่มมีรอยร้าวและวัชพืชขึ้น ประวัติโดยสังเขป ศาลเจ้าพระเพลิงหรือห้วยตึงอีเอี้ย เป็นศาลเจ้าที่สำคัญกับชุมชนที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้เตาไฟ ทั้งในกิจการหุงหาอาหารต่างๆขาย ภัตตาคารหรือในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นโรงต้มปลาทู โรงน้ำปลา ซีอิ๊ว โรงย้อมครามตลาดพลู ศาลเจ้าเก่านี้อยู่ติดน้ำคลองบางหลวง ต่อมาได้สร้างสถานีดับเพลิงข้างที่ทำให้พื้นที่ทำกิจกรรมคับแคบ จนได้ย้ายไปสร้างศาลใหม่ใกล้โรงสีง่วนไถ่ในซอยเทอดไท 22 เมื่อปีพ.ศ 2537 แทน แต่ยังมีผู้ที่นิยมมาไหว้และขอพรจากศาลเจ้าเดิมอยู่ตลอดมา (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ. 2558)
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
แหล่งพิธีกรรม
.
เลขที่ : ข้างสถานีดับเพลิงตลาดพลู ต. ตลาดพลู อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
tharadol : มหาวิทยาลัยศรีปทุม :