โรงสีง่วนไถ่ เป็นอาคารโรงสีเก่าแก่ ขนาดใหญ่ โครสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กผสมกับโครงสร้างไม้ โดย ชลิดา ทัฬหากาญจนากุล จาก Facebook ถามอิฉันสิ…อิฉันคนตลาดพลู ได้เล่าประวัติของโรงสีไว้ดังนี้ (2561)”โรงสีง่วนไถ่เจ้าของชื่อ ลุงขวัญ ลีปิพัฒนวิทย์ ลุงขวัญเกิดที่เมืองจีน มณฑลฮกเกี้ยน เมืองเอ้หมึง คุณพ่อมาบุกเบิกอยู่เมืองไทยมาก่อน เมื่อมีลู่ทางทำมาหากิน มั่นคงดีแล้ว จึงให้ลุงขวัญ และคุณแม่อพยพตามมาอยู่ที่เมืองไทย แถวลำพญา พอตอนอายุได้10 กว่าขวบ คุณพ่อและคุณแม่ได้พาลุงขวัญ และพี่น้อง ย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพ ได้มาอาศัยอยู่. ที่บ้านคุณตาฝั่งเพชรเกษม ซึ่งเปิดเป็นร้านโชห่วยอยู่ริมคลอง แต่ก่อนตามต่างจังหวัดไม่มีโรงสีข้าว จึงนำข้าวเปลือกบรรทุกใส่เรือล่องตามแม่น้ำนำมาสีที่บางกอก เส้นทางน้ำ จากปากคลองด่านไปจนถึงคลองบางกอกใหญ่จะมีโรงสีข้าวถึง 9 โรง เรือที่บรรทุกข้าวเปลือกจะนำข้าวมาสี และสั่งสินค้าโชห่วยที่ร้านคุณตาลุงขวัญ พายเรือส่งใบสั่งสินค้า ข้ามฟากมาสั่งของ การค้าคึกคักค้าขายดีเป็นที่สุด ต่อมาลุงขวัญเปิดร้านขายข้าวสารที่แถวสถานีดับเพลิงใกล้ ๆ แถวศาลเจ้าพ่อพระเพลิงเก่า การค้าข้าวดีมากจนต้องหาที่ขยายกิจการจน เจอ โรงสีง่วนไถ่ ลุงขวัญจึงตั้งชื่อโรงข้าวสารใหม่ว่า.. โกดังข้าวสารง่วนลีล้ง รับข้าวที่ล่องมาจากจังหวัดต่าง ๆ ขายส่งต่อตามร้านค้าในย่านตลาดพลู และ ละแวกใกล้เคียง หรือที่เรียกกันว่า ยี่ปั๊ว โรงสีง่วนไถ่ เจ้าของเดิมคือเจ้าของโรงพยาบาลเยาวลักษณ์ (มีหุ้นส่วน) รับข้าวเปลือกที่ล่องมาจากเพชรบุรี ราชบุรี อยุธยา สุพรรณบุรี มาสีที่นี่ แต่พอมีถนนเพชรเกษมตัดผ่านโรงสีก็เริ่มซบเซาลงเรื่อย ๆ เพราะการคมนาคมสะดวกขึ้น รวดเร็วกว่าทางน้ำ เพราะการล่องเรือขนข้าว หน้าน้ำใช้เวลาถึง 10 วัน หน้าแล้งอาจจะใช้เวลาเป็นเดือน โรงสีข้าวจึงเปลี่ยนจากข้าวเป็น รำ แทน เพราะตลาดพลูยังมีสวนอยู่มาก มีการเลี้ยงหมูหลายแห่ง ขายรำอยู่พักหนึ่งจึงยุติ และ ประกาศขาย กลายเป็นของลุงขวัญและเป็น โกดังข้าวสารง่วนลีล้ง ในที่สุด ปัจจุบันโกดังนี้ได้ปิดตัวไปเเล้ว ลุงขวัญวันนี้ พักอยู่กับบ้านแต่ช่วยเหลืองานสังคมของชาวตลาดพลูอยู่สม่ำเสมอ อารมณ์ดี ใจดี ความจำดีมาก (ขอย้ำว่าดีมากๆ) เล่าเรื่องตลาดพลู ผู้คนสมัยคุณลุงยังค้าขายอยู่ คุ้นเคยกับอาป๊าของอิฉันและที่บ้านก็สั่งข้าวจากโกดังข้าวของลุงขวัญมาขาย เรื่องราวหนหลังพรั่งพรูอย่างมีความสุขและอิฉันก็มีความสุขที่ฟัง เวลาคล้อยลง จนแทบไม่รู้ตัว ปัจจุบันลุงขวัญดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการ โรงเรียนกงลี้จงซัน และดูแลโกดังข้าวเก่าแห่งนี้อย่างดี เป็นบุคคลเก่าแก่ที่น่าเคารพและโกดังข้าวง่วนลีล้ง เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งที่บอกเล่าถึงความเจริญรุ่งเรือง ประวัติศาสตร์ การค้าการขาย ในยุคแรกของตลาดพลู” (ชลิดา ทัฬหากาญจนากุล, 2561)
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ร้านค้าและเคหสถาน
.
เลขที่ : ต. ตลาดพลู อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
ชลิดา ทัฬหากาญจนากุล
Facebook : ถามอิฉันสิ…อิฉันคนตลาดพลู
tharadol : มหาวิทยาลัยศรีปทุม :