สถานีรถไฟตลาดพลู เป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่ แม่กลอง ก่อสร้างและเริ่มดำเนินการโดย บริษัท รถไฟท่าจีนทุน จำกัด หรือ บริษัท ท่าจีนเรวเวกัมปนีลิมิเต็ตทุน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มี พระยาพิพัฒโกษา หรือ เคเลสติโน ซาเวียร์ และชาวต่างประเทศถือหุ้นรวมกัน 11 คนขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก่อสร้างและดำเนินกิจการรถไฟจากสถานีรถไฟปากคลองสาน ถึงสถานีรถไฟมหาชัย (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444-2484 เป็นเวลา 20 ปี เรียกว่า ทางรถไฟสายท่าจีนหรือสายมหาชัย เส้นทางรถไฟสายแม่กลองแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยมีความยาวของทางรถไฟทั้งหมด 66.9 กิโลเมตร ปัจจุบันการเดินรถไฟสายแม่กลอง เริ่มจากฝั่งธนบุรี ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วยเส้นทาง 2 ช่วง คือ สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ถึงสถานีรถไฟมหาชัย และจากสถานีรถไฟบ้านแหลม ถึงสถานีรถไฟแม่กลอง โดยระหว่างสถานีมหาชัยกับสถานีบ้านแหลม จะไม่มีเส้นทางเชื่อมถึงกัน ผู้โดยสารจะต้องลงจากขบวนรถ และเดินเท้าไปขึ้นเรือข้ามฟากข้ามแม่น้ำท่าจีน เพื่อไปต่อรถไฟอีกขบวนหนึ่ง (การรถไฟแห่งประเทศไทย, 2544) สถานีรถไฟตลาดพลูเป็นสถานีขนาดเล็กก็จริง แต่มีความทรงจำมากมาย เป็นสถานีที่เชื่อมต่อไปยังตลาดมหาชัย และยังเป็นย่านการค้าของคนไทยเชื้อสายจีน ทำให้รอบๆ สถานีมีร้านอาหารเก่าๆ อยู่ นอกจากนั้นสถานีนี้สามารถขึ้นรถไฟฟรีไปแม่กลองได้ จึงเป็นที่นิยมของพ่อค้าแม่ค้าที่จะนั่งรถไฟไปซื้อของมาขาย ตัวอาคารย้ายจากตำแหน่งเดิม (ทางโค้ง) มาสร้างใหม่ ณ ตำแหน่งปัจจุบัน มีลักษณะรูปแบบอาคารค.ส.ล.สมัยใหม่ขนาดเล็ก สูง 1 ชั้นโคงสร้างเสาคานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีโถงพักคอยกว้าง ตรงกลางสถานนี มีเก้าอี้ไม้เก่าแก่ บริเวณชานชาลามีซุ้มประตูโค้ง 3 ช่อง ทาสีสดใส มีคิ้วบัวหัวเสา ด้านนอกมีป้ายชื่อสถานนีตลาดพลู ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายภาพเป็นที่ระลึก (พีรวัฒน์ บูรณ์พงศ์, 2565)
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
.
เลขที่ : 809 ซอยเทอดไท 23 ต. ตลาดพลู อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
อาจารย์พีรวัฒน์ บูรณพงศ์
กลุ่มตลาดพลูดูดี
tharadol : มหาวิทยาลัยศรีปทุม :