ในอดีตในกรุงเทพมหานครมีการนิยมบริโภคปลาทูมาก จึงมีโรงนึ่งปลาทูในย่านตลาดพลูตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะการขนส่งสินค้าปลาทูจากมหาชัยผ่านทางรถไฟมาสู่ตลาดพลูมีความสะดวกรวดเร็ว คุณสมพงษ์ รัตนอุทัยวงศ์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดดูแลโรงปลาทูนึ่งรุ่นที่ 3 ที่ยังเปิดอยู่เล่าว่า “สมัยก่อนจะสั่งปลาทูสดจากมหาชัย ขนมาทางรถไฟลงที่สถานีรถไฟตลาดพลู จ้างแรงงานหาบมาที่ริมคลอง นึ่งแล้วจัดส่งทางน้ำขายทั่วประเทศ การค้าปลาทูในสมัยนั้นมีการร่วมมือกันเป็นองค์กรรวมกันกว่า 10 โรง (ปัจจุบันเหลือแค่ 3 โรง) เหมือนกลุ่มโรงสีในบริเวณข้างเคียง ปัจจุบันการผลิตลดลงเนื่องจากปลาทูสดราคาสูงขึ้น ต้องสั่งจากสะพานปลา การขนส่งทางรถสะดวกขึ้น และมีการนึ่ง แปรรูปปลาทูจัดทำในแหล่งผลิตวัตถุดิบ จึงทำให้ปริมาณการผลิตลดลงแต่ คุณสมพงษ์ยังทำการผลิตจำหน่ายอยู่ โดยขายให้เฉพาะลูกค้าประจำในตลาดวัดกลาง” คณะผู้สำรวจเข้าไปเยี่ยมชมการผลิตเห็นได้ว่า โรงปลาทูนึ่งยังมีผลเกื้อหนุนกับสิ่งอื่น ๆ ในชุมชนด้วยเช่น การใช้เครื่องจักสาน แรงงาน และเกลือ เป็นต้น (สมพงษ์ รัตนอุทัยวงศ์ สัมภาษณ์โดย พีรวัฒน์ บูรณพงศ์, 2565)
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : ตลาดกลาง ต. ตลาดพลู อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
พีรวัฒน์ บูรณพงศ์
080 4558004
tharadol : มหาวิทยาลัยศรีปทุม :