คลองบางกอกใหญ่ เดิมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ไหลคดเคี้ยว อ้อมแผ่นดินที่เป็นบาง มีชื่อว่า “บางกอก” ต่อมาในสมัยรัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช มีพระราชดำริให้ ขุดคลองลัดบางกอก ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๕ กระทั่งในปัจจุบัน กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ท่าราชวรดิฐ วัดอรุณราชวราราม และท่าเตียน ส่วนแม่น้ำเดิมแคบลง กลายเป็นคลอง ที่เรียกชื่อว่า คลองบางกอกน้อย คลองบางขุนศรี และคลองบางกอกใหญ่ เชื่อมต่อกัน (ไพฑูรย์ พงศะบุตร, 2551) ในอดีตตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ คลองบางกอกใหญ่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชุมชนย่านตลาดพลู ในการสัญจร ขนถ่ายสินค้า เป็นตลาด ชุมชน และย่านพักอาศัยของข้าราชการ คลองที่ไหลผ่านย่านนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คลองบางหลวง จัดเป็นพื้นที่เชิงวัฒนธรรมที่เก่าแก่ มีประเพณี การละเล่นที่มีลักษณะเฉพาะหาชมได้ยากเช่น ประเพณีชักพระ ประเพณีแห่ผ้าไตรงานทําบุญประจําปีวัดกําแพงบางจาก เทศกาลไหว้เจ้าประจำปี ของศาลเจ้าริมคลองหลายแห่ง การละเล่นกระตั้วแทงเสือ และการเชิดสิงโต เป็นต้น ปัจจุบันคลองบางกอกใหญ่ถูกลดบทบาทในการเป็นเส้นทางคมนาสายหลักลง เพราะความเจริญจากการตัดถนน และโครงสร้างการขนส่งมวลชนสมัยใหม่ ปัจจุบันกรุงเทพมหานครจึงมีการปรับปรุงในด้านความสะอาด สวยงาม ปรับปรุงท่าเรือใช้เพื่อการเดินทางด้วยเรือสาธารณะ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม (พีรวัฒน์ บูรณ์พงศ์, 2565)
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
.
เลขที่ : คลองบางกอกใหญ่ ต. ตลาดพลู อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
พีรวัฒน์ บูรณพงศ์
080 4558004
tharadol : มหาวิทยาลัยศรีปทุม :