วัดยางทอง เป็นที่ตั้งของบ่อยาง ห่างจากเสาหลักเมืองสงขลาไปทางทิศเหนือไม่มากนัก[1] ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นของที่ตั้งเมืองสงขลา จากพงศาวดารเมืองสงขลาว่า ในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยยังคงรบกับพม่า เมื่อเกิดสงครามเก้าทัพ พม่าได้บุกมาทางถลางหรือภูเก็ต กองทัพเมืองสงขลาจึงได้ยกไปช่วย หลังจากเสร็จศึกเก้าทัพแล้วเจ้าเมืองสงขลาก็ได้สร้างอุโบสถวัดยางทอง (ทำนองสร้างบุญล้างบาป) จึงคาดหมายว่าวัดยางทองน่าจะมีอยู่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ หรือคงจะมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ 1 หลัง ศาลาการเปรียญ 1 หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง และกุฏิ 5 หลัง ซึ่งเสนาสนะเหล่านี้ เก่าที่สุดคือกุฏิที่ผู้เขียนอยู่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 นอกนั้นเกือบทั้งหมดสร้างมาไม่เกิน 20 ปี แต่เมื่อขุดดินลงไปภายในวัด จะเจอก้อนอิฐในสมัยต่าง ๆ ทับถมอยู่หนาแน่นและทั่วไป
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งพิธีกรรม
.
เลขที่ : บ้านเลขที่ 1 ถนนนางงาม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ต. บ่อยาง อ. เมืองสงขลา จ. สงขลา 90000
อาจารย์สืบสกุล ศรีสุข
081 276 7935
ผศ.ดร.กรฤต นิลวานิช : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา :