มัสยิดสวนพลู ตั้งอยู่ในซอยเทอดไท 11 หรือ เข้าถึงได้จากด้านถนนเรียบทางรถไฟ ใกล้กับสถานนีรถไฟตลาดพลู เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และพื้นที่กิจกรรมตามเทศกาล ประเพณี วัฒนธรรมประจำปี ของชาวไทยมุสลิมในชุมชนโดยรอบ ชาวไทยมุสลิม ในย่านนี้มีที่มาจากหลายกลุ่มพื้นที่ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มชาวมุสลิมดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานทำสวนพลู มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงธนบุรี และกลุ่มที่สองเป็นชาวไทยมุสลิม เชื้อสายมาลายูจากเมืองตานีที่ถูกอพยพมาในปี พ.ศ. 2329 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จากสงครามเมืองตานี ซึ่งนำทัพโดยเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ดาโต๊ะสมเด็จ) และส่วนหนึ่งทรงดำริให้มาตั้งถิ่นฐานในย่านคลองบางหลวง คือในบริเวณโดยรอบมัสยิดสวนพลู ปัจจุบัน "มัสยิดสวนพลู" แต่เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว เวลาที่ปลูกสร้างไม่แน่ชัด มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบทรงแบบเรือนไทย (ปั้นหยา) ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 8 เมตร มีโดมเสาปัง (หอกลอง) เป็นไม้เช่นกัน จนถึงปี พ.ศ.2379 นายฮัจยีโต๊ะชางอ (ชาย) ซึ่งเป็นอิหม่ามอันดับแรกและเป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างตัวอาคารแบบไทย (กะฎี) ก่ออิฐถือปูน ซึ่งชาวบ้าน (สัปบุรุษ) ในสมัยนั้นเรียกว่า สุเหร่า หรือ กุฏี (เพราะมีรูปร่างเหมือนกะฎีหรือวิหารทางพุทธศาสนา) ซึ่งลักษณะเช่นนี้ยังมีให้คนรุ่นหลังได้เห็นอีกแห่งเดียวคือ มัสยิดบางหลวง หรือ กุฏีขาว ริมคลองบางหลวงในปัจจุบัน แต่เดิมตัวอาคารที่ก่ออิฐถือปูนมีลักษณะเป็นรูปทรงปั้นหยาเช่นเดียวกับอาคารไม้เดิม ตรงกลางอาคารมีเสากลางเพื่อรับน้ำหนักโครงหลังคา ที่มุงด้วยกระเบื้องโบราณ มีความกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร เมื่อ พ.ศ. 2446 จำนวนสัปบุรุษเพิ่มมากขึ้น คณะบริหาร (ทรัสดี) ในยุคนั้นได้ซ่อมแซมปรับปรุงตัวอาคารนี้ด้วยการขยายประตูทางเข้าออกมาอีก รวมความยาวของตัวอาคารเป็น 16 เมตร แต่ความกว้างยังคมเดิมคือ 8 เมตร และได้เปลี่ยนโครงหลังคาใหม่ ใช้กระเบื้องสี่เหลี่ยมขนาด 8x8 นิ้ว” (สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, มปป.) ต่อมาอาคารชำรุด ทรุดโทรมมาก และมีสัปบุรุษจำนวนมากขึ้น จึงทำการรื้อถอน และปลูกสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้น มีลักษณะเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีต สไตล์โมเดิร์นดังที่เห็นในปัจจุบัน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับศาสนา
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : ซอยเทอดไท 11 ต. ตลาดพลู อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
เลขานุการมัสยิดสวนพลู
024727020
tharadol : มหาวิทยาลัยศรีปทุม :