ถนนทางใน คือถนนขาดเล็กที่เป็นแนวเส้นตรงระหว่าง วัดสำคัญสามวัด ขนานกับคลองบางกอกใหญ่ เริ่มจาก วัดอินทารามวรวิหาร วัดจันทาราม ตลาดวัดกลาง วัดราชคฤห์วรวิหาร และเชื่อมโยงด้วยตรอก ซอยเล็กๆ ผ่านตลาดกลาง ย่านเรือนแถวไม้เก่าแก่ ไปสู่ซอยเทอดไท 14 16 18 และ 20 ตามลำดับ ใช้เป็นถนนคนเดิน ลานจอดรถ และยานพาหนะขนาดเล็กในชุมชน จากการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบชื่อถนนทางในจากแผนที่ท่องเที่ยวมรดกวัฒนธรรม ตลาดพลู จาก โครงการต่อยอดอดีต ปรับปัจจุบัน สร้างคุณค่าคลองบางกอกใหญ่ผ่านเส้นทาง “ล้อ ราง เรือ” จัดทำโดยสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร (2563) เมื่อสืบค้น เปรียบเทียบ กับเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าถนนเส้นนี้ เดิมชื่อว่า “ถนนสามัคคี” ซึ่งเป็นถนนสายแรกในฝั่งธนบุรี ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพบจากบันทึกในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 26 หน้า 584 วันที่ 4 กรกฎาคม ร.ศ.128 (พ.ศ. 2453 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เรื่อง แจ้งความกระทรวงนครบาล ระบุว่า “ด้วย หลวงจำนงนรารักษ์ เจ้ากรมกองตระเวร ได้เรี่ยรายเงินจากราษฎรมาซ่อมถนนตำบลตลาดพลูซึ่งชำรุด หักพัง แลได้ขยายกว้างออกไปเปน 4 ศอก ร่องน้ำข้างละ 1 ศอก รวม กว้าง 6 ศอก ยาว 4 เส้น 14 วา ปูด้วยกระเบื้องสิเมนต์อย่างใหญ่ กับได้สร้างสพานไม้ข้ามคูริมโรงบ่อน ตลาดพลู 1 สพาน ข้ามคลองบางน้ำชน 1 สพาน แล้วเสร็จ แลได้ทำบุญเลี้ยงพระ มีการเล่นฉลองในการ เปิดสพานแลถนนสายนี้ แลให้นามว่า ถนนสามัคคี ได้ใช้จ่ายเงินสิ้นเงิน 2932 บาท 62 สตางค์ ผู้ที่ได้บริจาคทรัพย์ ดังมีรายนามกับจำนวนเงินต่อไปนี้…” ซึ่งข้อความต่อไป แสดงรายชื่อผู้บริจาคส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ข้าราชการ และคนไทยบางส่วน กล่าวได้ว่า ถนนสายแรกในฝั่งธนบุรี คือ “ถนนสามัคคี” ซึ่งตั้งอยู่ในย่านตลาดพลู อันเกิดจากการร่วมมือโดยชาวจีน ไทย ในย่านตลาดพลู ซึ่งมีบันทึกไว้แล้วในประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันถูกเปลี่ยนชื่อไป เป็นชื่ออื่นจนผู้คนย่านนี้ลืมเลือนไปหมดแล้ว
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน
.
เลขที่ : ถนน ขนานคลองบางกอกใหญ่ ด้านวัดราชคฤห์ วัดจันทาราม และวัดอินทาราม ต. ตลาดพลู อ. เขตธนบุรี จ. กรุงเทพมหานคร 10600
ปิยะ ไล้หลีกพาล
025791111 ต่อ 2420
tharadol : มหาวิทยาลัยศรีปทุม :