หอเจ้าปู่ถลา หลังแรกก่อสร้างโดยเจ้าเพชร เจ้าสาย พร้อมญาติพี่น้องชาวผู้ไทบ้านดงหวายหรือเมืองเว ที่อพยพมาจากเมืองวังอ่างคำไว้ท้ายเมืองหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ริมห้วยหลวงหรือห้วยสายบ่อแก ซึ่งจะไหลลงสู่ลำห้วยแคน และลำน้ำก่ำ แล้วไหลออกสู่ปากแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) ต่อไป โดยได้สร้างขัวไม้ (สะพานไม้) ยาวประมาณ 10 เมตร เพื่อเดินข้ามลำห้วยหลวงไปสู่ทอเจ้าปู่ถลา พ.ศ.2516 ลูกหลาน ญาติพี่น้องชาวผู้ไทเรณูนคร นำโดย คุณพ่อคำไพ แก้วมณีชัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ต.เรณู ซึ่งเป็นเจ้าจ้ำปู่ถลา และผู้ดูแลหอปู่ถลาในสมัยนั้น ได้รื้อหอเจ้าปู่ถลาหลังเก่าทั้งหมด และก่อสร้างหอเจ้าปู่ถลาขึ้นใหม่ เป็นอาคารปูนซีเมนต์ มีเสาคอนกรีต 4 เสา ผนังก่อสร้างด้วยอิฐแดงฉาบปูนทั้งหมด ไม่มีหน้าต่าง กว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูงประมาณ 2.50 เมตร หลังคาทรงจั่ว มุงด้วยสังกะสีสีแดง พื้นยกสูง ลาดพื้นคอนกรีตขัดเรียบภายในทั้งหมด มีประตูทางเข้าต้านหน้าเพียงประตูเดียวเป็นประตูโปร่งทำด้วยโครงเหล็กเส้นใช้สำหรับปิด-เปิดเท่านั้น หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ภายในวางไว้ด้วยเครื่องเช่นไหว้ สำหรับระเบียงด้านนอกด้านหน้าบริเวณหอเจ้าปู่ถลา ทำเป็นลานคอนกรีต กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร มีรั้วเหล็กล้อมรอบ เป็นที่นั่งของลูกหลานญาติ พี่น้องที่ไปทำพิธีบนบานบอกกล่าวปู่ และพิธีแก้บะ ชาวผู้ไท เรียกหอเจ้าปู่ถลานี้ว่า “หอแดง” พ.ศ.2536 ลูกหลานญาติพี่น้องชาวผู้ไทเรณูนครนำโดยคุณวิจิตร สุวรรณลึลา ประธานมูลนิธิแก้วมณีชัย พ.อ.วิจิตร จำปาศรี ลูกเขยคุณพ่อคำคง-คุณแม่มณีแก้ว สิทธิมา ได้ปรึกษาหารือร่วมกับผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่อำเภอเรณูนคร เห็นว่าควรสร้างหอปู่ถลา หรือ “หอแดง” ขึ้นใหม่ ให้ใหญ่กล่าวเดิมและเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ ที่สง่างามสมศักดิ์ศรีและเกียรติยศของเจ้าปู่ถลาอันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้เริ่มสร้างหอแดงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture แหล่งพิธีกรรม
.
เลขที่ : ต. เรณู อ. เรณูนคร จ. นครพนม 48170
ดร.เฉลิมชัย แก้วมณีชัย
บรรจง ภูละคร : มหาวิทยาลัยนครพนม :