หากเอ่ยถึงคำว่า “โคกหนองนา” หรือ “โคกหนองนาโมเดล” เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะ เป็นคำที่เกษตรกรจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดีตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับชุมชนบ้านรงระ ก็ได้ขานรับแนวคิดในการบริหารจัดการน้ำ และพื้นที่ทำการเกษตรในรูปแบบ โคกหนองนาโมเดลกันเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อว่าจะเป็นโมเดลในการรับมือกับการแก้ปัญหาภัยแล้งได้อีกทาง และเชื่อว่าจะเป็นแผนสำรองในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่การเกษตรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ศูนย์เรียนรู้ โคกหนองนาโมเดล ของชุมชนรงระซึ่งมีอยู่ด้วยกันจำนวน 11 จุด ดำเนินการมาได้ประมาณ 3 ปี มีหลายจุดที่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผลแล้ว โดยเฉพาะผลผลิตจากการเลี้ยงปลาในบ่อของโครงการ ซึ่งปัจจุบันสมาชิกกลุ่มฯ สามารถนำปลาจากบ่อขึ้นมาจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวแล้วหลายราย อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายปลาสด ๆ นั้นจะได้ราคาไม่สูงมากนัก เมื่อมีโครงการวิจัยการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กูยโดยกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากและพลังสังคมในจังหวัดศรีสะเกษ เข้ามาดำเนินโครงการในพื้นที่ ชุมชนจึงได้เสนอให้มีการต่อยอดและเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากโครงการโคกหนองนาโมเดล โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปลาส้ม ปลาร้า ปลาแดดเดียว น้ำพริกปลาแห้ง ปลาร้าขวด น้ำปลา เป็นต้น
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : บ้านรงระ หมู่ 8 ต. ตูม อ. ปรางค์กู่ จ. ศรีสะเกษ 33170
นางนุย จันทอง
0812318011
อนันศักดิ์ พวงอก : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ :