อัญชัน เป็นไม้เลื้อยที่พบเห็นอยู่ทั่วไปตามรั้วบ้าน ซึ่งเมื่อก่อนปลูกไว้พอได้เก็บดอกกินกับน้ำพริก ป่น แจ่ว ไม่ได้ปลูกในเชิงพาณิชย์อะไรมากมายนัก จนกระทั่งปี 2562 นางดวงรัตน์ นาคนวล ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน กลับมาแล้วจึงได้ทดลองทำแปลงปลูกอัญชันพร้อมกับถ่ายทอดวิชาความรู้ที่ได้จากการไปศึกษาดูงานให้กับสมาชิกในชุมชนปลูกตาม ซึ่งในช่วงแรกก็ยังปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น ต่อมาดอกอัญชันของแต่ละบ้านเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเริ่มมีการแปรรูปจำหน่าย ในรูปแบบอัญชันตากแห้ง และได้มีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ชาดอกอัญชัน และชาผงอัญชันออกมาจำหน่าย แต่โดยหลักจะเน้นขายอัญชันตากแห้ง เนื่องจากขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ทำง่ายขายคล่อง โดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ที่ราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 400 บาท (ตากแห้ง) ทำให้ชุมชนรงระและชุมชนใกล้เคียงเร่งขยายพื้นที่ปลูกอัญชันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นไม่นานราคาดอกอัญชันตากแห้งก็ตกลงมาเหลือเพียงกิโลกรัมละ 100-150 บาท แต่ชุมชนรงระก็ยังคงไม่ทิ้งอาชีพเสริมนี้และปลูกเป็นอาชีพเสริมกันมาจนถึงปัจจุบัน ข้อดีของการปลูกอัญชันคือปลูกง่ายเนื่องจากเป็นพืชทนแล้ง การบำรุงรักษาก็ไม่ยาก และไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมีหรือสารฆ่าแมลงที่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย ใช้เพียงปุ๋ยคอกซึ่งเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ก็ได้ผลผลิตแล้ว ที่สำคัญอัญชันจะออกดอกเกือบตลอดทั้งปี โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกคือ อัญชัน 5 ชั้น เนื่องจากเก็บง่าย ได้น้ำหนักกว่าชั้นเดียว ซึ่งประโยชน์ของอัญชันคือ ในดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารสีม่วง มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดเล็ก ๆ ลดไขมันในเส้นเลือด อัญชันที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นอัญชันดอกสีม่วง ซึ่งสามารถใช้ได้หลายส่วน ทั้งดอก เมล็ด และราก อัญชันของชุมชนรงระจะเป็นอัญชัน 5 ชั้น มีน้ำหนักมาก ให้สีชัด กระบวนการปลูกแบบอินทรีย์ ในอนาคตทางกลุ่มจะนำอัญชันมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ผลิตภัณฑ์ชุดเครื่องอาบน้ำ น้ำยาล้างจาน อาหาร แชมพู ครีม สบู่ ภายใต้แบรนด์ “รงระ”
จับต้องได้ : Tangible.
ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.
เลขที่ : บ้านรงระ หมู่ 8 ต. ตูม อ. ปรางค์กู่ จ. ศรีสะเกษ 33170
นางปกาพันธ์ ทวีชาติ
0994035503
อนันศักดิ์ พวงอก : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ :