ลักษณะเฉพาะ : วัดเจ็ดยอดสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรล้านนาช่วงก่อนที่พญามังรายจะตั้งเมืองเชียงราย ภายหลังถูกทิ้งร้างช่วงถูกพม่ารุกรานเชียงรายและเชียงแสน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ตรงกับรัชสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่ ได้นำราษฎรเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ที่ต่างร่วมเดินทางมาสร้างบ้างแปงเมืองเชียงราย เชียงแสน มาช่วยกันบูรณะวัดแห่งนี้ เนื่องจากในขณะนั้นวัดและพระธาตุอยู่ในสภาพชำรุดผุผังใน พ.ศ. 2386 นำโดยพระครูบาคันธะคนฺธวํโสได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันบูรณะวัดด้วยการแผ้วถางพื้นที่จนพบซากวัดเก่า มีแนวกำแพง ฐานวิหาร ฐานเจดีย์ ปรากฏเป็นพระธาตุ 7 องค์ทั้งองค์ใหญ่และ องค์เล็กในสภาพชำรุดผุผัง พระครูบาฯ และพระภิกษุที่ร่วมเดินทางมาด้วยจึงชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันบูรณะวัดและขอให้ใช้เป็นวัดประจำหมู่บ้านเจ็ดยอด ตามตำนานกล่าวว่าชื่อ “วัดเจ็ดยอด” แตกต่างกันไป อาทิ การมีที่มาจากระหว่างที่ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ได้ขุดพบฐานของพระธาตุที่ตั้งเรียงกันรวมเจ็ดองค์ ในขณะที่บางตำนานกล่าวว่า บริเวณนั้นพบ วัดร้างถึง 7 วัด พระครูบาฯ ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงจึงรวมวัดทั้งหมดสร้างเป็นวัดเดียวด้วยการสร้างพระธาตุเจดีย์ เจ็ดยอดพร้อมทั้งให้ชื่อว่า “วัดเจ็ดยอด” ตามจำนวนยอดเจดีย์ ทั้งยังเพื่อให้พ้องกับวัดโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
.
เลขที่ : ชุมชนเจ็ดยอด ต. เวียง อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย 57000
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจฤดี คงสุวรรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย :