PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-57000-00005

หงษ์คำ
hongkham

ลักษณะเฉพาะ : ร้านหงส์คำหรือเป็นที่รู้จักในชื่อ “ร้านอ้ายกานต์/ร้านครูกานต์” เป็นร้านขายตุงสำหรับใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีใหญ่ ๆ ใช้ในพิธีทางศาสนา ลักษณะของตุงจะเป็นตุงต้อง ตุงยาว โคมไฟที่ทำจากกระดาษหรือผ้าที่ต้องลาย การใช้การตอก เพื่อให้เกิดลวดลายบนตุงกระดาษ หรือผ้าต้องลายโคม ภาษาเหนือจะเรียกว่า “โกม” ร้านมีลักษณะโดดเด่นคือยังเป็นร้านที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการทำโคมแบบดั้งเดิม และเน้นลวดลายแบบเก่าที่สืบทอดกันมา ปัจจุบันนายชยุตพงศ์ กันธิพันธุ์ เจ้าของร้านเปิดร้านรับสอนทำตุงและเป็นวิทยากร ราคาการเรียนทำตุงเริ่มต้น 200 บาทขึ้นไป ราคาของตุงที่ขายเริ่มต้น 250 - 1,000 บาทขึ้นไป และรับจัดการเครื่องประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นวิทยากรสอนพิเศษ เป็นผู้นำชุมชนประตูเชียงใหม่ กรรมการสภาวัฒนธรรมเทศบาลนครเชียงราย (สัมภาษณ์, 26 พฤศจิกายน 2564) นอกจากแหล่งทุนวัฒนธรรมตามรายการข้างต้นของชุมชนประตูเชียงใหม่แล้ว ยังคงปรากฏรายการทุนทางวัฒนธรรมบนถนนธนาลัย ที่เป็นถนนสายกลางของตัวเมืองเชียงราย ในอดีตถนนเส้นนี้มีความเจริญมากที่สุด ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญมีร้านค้าที่ทันสมัย โรงภาพยนตร์ ร้านถ่ายรูปและธุรกิจที่สำคัญบนถนนสายนี้ ตลอดจนกิจกรรมภายในจังหวัดที่เป็นขบวนแห่ ก็มักจะแห่ผ่านถนนธนาลัย อาทิ ขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา ขบวนแห่กระทง ขบวนแห่กีฬาของโรงเรียนต่าง ๆ ขบวนแห่กฐิน เป็นต้น ถนนธนาลัยเดิมชื่อ “กองเวียง” (คำว่า “กอง” ในภาษาเหนือหมายถึง “ถนน หนทาง”) สร้างโดยเจ้าหลวงอุ่นเรือน เมื่อพ.ศ. 2400 – 2410 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนธนาลัย” เมื่อพ.ศ. 2476 ถนนเส้นนี้เริ่มตั้งแต่สี่แยกประตูเชียงใหม่ – สี่แยกสุริวงค์ – สี่แยกสรรพสามิต – สี่แยกเศรษฐการ (แยกธนาคารออมสินในปัจจุบัน) - สี่แยกศาล – สี่แยกเรือนจำ (สี่แยกสวนตุง) – สี่แยกหนองสี่แจ่ง (เชื่อมต่อถนนหนองสี่แจ่ง - ประตูยางเสิ้ง) ถนนธนาลัยเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ บริษัท ห้างร้าน โรงแรมและสถาบันทางการเงิน อาทิ จวนผู้วาราชการจังหวัด สำนักงานศาลจังหวัดเชียงราย ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงราย เรือนจำจังหวัดเชียงราย (เดิม) สำนักงานเศรษฐการจังหวัด (สำนักงานพาณิชย์จังหวัด) สำนักงานสรรพสามิตจังหวัดเชียงราย (เดิม) โรงเรียนการช่างสตรีเชียงราย (ปัจจุบันคือวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย) สำนักงานยาสูบเชียงราย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทไทยเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารทหารไทย ตลาดสดเทศบาล โรงภาพยนตร์ (สุริวงค์และราชา) เป็นต้น บทบาทของถนนธนาลัยปรากฏความสำคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อรัฐบาลโดยกระทรวงเศรษฐการ (กระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน) ได้จัดตั้งบริษัท เชียงรายจังหวัดพาณิชย์ จำกัดขึ้นบนถนน ธนาลัยบริเวณสี่แยกเศรษฐการใน พ.ศ. 2483 เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงดังกล่าว เพราะเป็นช่วงที่สินค้าขาดแคลนอย่างมาก ทั้งยังเป็นแหล่งการกระจายสินค้าไปยังอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงรายผ่านตัวแทนการค้าจากทุกอำเภอ จนส่งผลให้ในพ.ศ. 2488 ถนนธนาลัยได้กลายเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญที่สุดของจังหวัดเชียงรายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน (เฉลิมชัย คำแสน, 2554 : 89 – 113) อาคาร/ร้านค้าที่โดดเด่นเต็มไปด้วยคุณค่าบนถนนสายนี้



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ชุมชนประตูเชียงใหม่ ต. เวียง อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย 57000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจฤดี คงสุวรรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :339 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 16/11/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 16/11/2022


BESbswy