PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : AS-57000-00015

ประตูผี
pratoopee

ถนนประตูเชียงใหม่ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 ลักษณะเฉพาะ : ปัจจุบันพบเห็นเป็นเนินดิน ตั้งอยู่ด้านข้างของเชียงรายคอนโดเทล ประตูผีมาจากการย้ายสุสานจากเดิมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มาไว้เป็นทิศตะวันตกของเวียง โดยมีบันทึกไว้ว่า ...“สกราช 1211 ราชครูเกสร วัดพระนมดี เมืองนครเชียงใหม่เป็นสังฆะ 100 คน นั้นย้ายสุสานเดือน 6 ขึ้น 5 ค่ำ เอาศพจ้าวบุรีภูเกียง จ้าวบุรีรัตน์เมืองเชียงราย บุตรของจ้าวพญาคา จ้าวผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 ไปเผาประเดิมศพแรกที่ทำการฌาปนกิจ ณ ที่สุสานเด่นห้าแห่งนี้...” ส่วนสาเหตุที่ต้องย้ายสุสาน เพราะเกณฑ์กำหนดทักษะตามโบราณศาสตร์ว่า “ในเวลานั้นราสดอนก็สิบหายตายกันนัก” แนวคิดว่าด้วยประตูผีในคติความเชื่อของล้านนา ซึ่งสัมพันธ์กับชัยภูมิในการสร้างเมืองของคนล้านนาโบราณ มักจะมีความเชื่อเรื่องพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยการสร้างเมืองในสมัยโบราณนั้นมีความเชื่อว่าเมืองนั้นเปรียบเสมือนร่างกาย เดชเมือง ศรีเมือง มงคลเมือง อุตสาหะเมือง ฯลฯ โดยเฉพาะทิศที่เป็นอุบาทว์เมืองนั้น คนโบราณถือว่าเป็นทิศที่ไม่เป็นมงคล ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณนี้เป็นที่ฝังหรือเผาศพคนตาย โดยเมื่อมีคนตายเกิดขึ้นก็จะมีการนำศพออกจากเมืองทางประตูด้านนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า “ประตูผี” ความเชื่อดังกล่าวได้แพร่ขยายไปทุกหัวเมืองในล้านนา เช่นที่เชียงใหม่ก็จะมีประตูผีซึ่งอยู่ท้ายเมือง เรียกชื่อว่า “ประตูสวนปรุง” ขณะที่จังหวัดแพร่ก็มี “ประตูมาร” ซึ่งถือเป็นประตูผีส่วนที่จังหวัดลำปางก็มี “ประตูม่าห์” หรือ “ประตูม้า” ทั้งนี้เป็นเพราะคนล้านนาจะไม่เผาศพในเขตเวียง แต่จะนำศพออกไปเผานอกเวียงแทน เพราะถือว่าอัปมงคล “ขึด” โดยมากประตูผีมักตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้ของเมือง ซึ่งเป็นทิศอัปมงคล เมื่อออกจากประตูนี้ไปจะเจอกับสุสาน (ยกเว้นเมืองพะเยาที่สุสานแม่ต๋ำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียง) ส่วนเมืองเชียงราย ประตูผีจะอยู่ทางตะวันตก เยื้องกับเชียงรายคอนโดเทล ซึ่งถ้าออกประตูเมืองนี้ ตรงไปจะพบสุสานเด่นห้า โดยประตูผีนั้นสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับกำแพงและประตูเมืองด้านอื่น ๆ อีก 11 ประตูในสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

โบราณสถาน : AS : Archeological Site โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ชุมชนประตูเชียงใหม่ ต. เวียง อ. เมืองเชียงราย จ. เชียงราย 57000

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจฤดี คงสุวรรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :451 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 16/11/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 16/11/2022