“แล” แล เป็นภาษาลัวะ อันหมายถึง วรรณกรรมแบบมุขปาฐะชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับขาน มักพบในพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานศพ เป็นต้น มักจะมีคู่ถ้อง คือคู่ร้องตอบโต้กัน คล้ายกับการซอ บางทีก็เรียกว่า “ซอลัวะ” แล นั้นเป็นการขับขาน โดยไม่มีดนตรีประกอบ อย่างกับ ธา ของกะเหรี่ยง หรือ ซอ ของคนไทยวน จะขับขานในลักษณะของการ ถาม – ตอบระหว่างชายหญิง เช่น ในงานขึ้นเรือนใหม่ ก็จะมีการแบ่งระหว่างคู่ถ้องสองคน โดยคนหนึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายเจ้าบ้าน อีกคนหนึ่งเป็นตัวแทนของผู้มาเยือน ดังนั้น การ “แล” จึงจะมีลักษณะของการเชื้อเชิญ และสอบถามสารทุกข์สุกดิบ ระหว่างช่างแล ทั้งสองคน บางที อาจจะเป็นการแล เกี้ยวกันระหว่างชายหญิง ก็มี
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature บทร้องพื้นบ้าน
.
เลขที่ : บ้านมืดหลอง ต. บ้านทับ อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270
เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา :