วัดป่าแดด เดิมชื่อวัดใหม่เมืองแจ๋ม เมื่อปี พ.ศ.2370 พระยาเขื่อนแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองแจ่ม ได้ซื้อที่ดินทุ่งนาทุ่งป่าแง เพื่อสร้างวัดใน พ.ศ.2400-2420 โดยนิมนต์ ครูบาขุณณา จากวัดอุโบสถ อำเภอสันป่าตอง มาเป็นประธานในการสร้าง และมีพระสงฆ์อีก 3 รูป เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหาร จนแล้วเสร็จและทำการฉลองปอยหลวงเมื่อ พ.ศ.2428 ตัววิหารเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา หลังคาทรงเครื่องไม้ ลักษณะผังอาคารเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบยกเก็จ โดยขนาดของช่วงเสาจะไม่กว่า แต่มีการยกคอสองเพื่อซ้อนชั้นด้านข้างเป็นสองตับ และจั่วด้านหน้าซ้อนสามชั้น หรือเรียกว่า สามซด ตัววิหารไม่มีมุขหน้าเป็นโถงระเบียง และมีบันไดด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปมกรคลายสิงห์ ทั้ง 2 ข้างซ้ายขวา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวิหารล้านนาโบราณ ภายในวิหารมีช่วงผนังระหว่างเสาระเบ็งซ้ายและขวา เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่นแบบล้านนา ฝีมือช่างพื้นถิ่นอายุกว่า 135 ปี ซึ่งเป็นภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่สำคัญขอวิถีชีวิตหลายอย่างของเมืองแม่แจ่ม ต่อมาได้มีการสร้างหอไตรเมื่อ พ.ศ.2450 และเมื่อได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในพ.ศ.2530 จึงมีการสร้างอุโบสถขึ้นภายนอกกำแพง เป็นแบบอุทกเสมา หรือโบสถกลางน้ำ เมื่อ พ.ศ.2543
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
.
เลขที่ : 99 ม.4 บ้านยางหลวง ต. ท่าผา อ. แม่แจ่ม จ. เชียงใหม่ 50270
พ่อหนานจำเริญ ต๊ะสม
0813879554
เจษฏา สุภาศรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา :