ธรรมมาสน์เป็นแท่นสำหรับแสดงพระธรรมเทศนาหรือแท่นสำหรับการเทศน์ของพระภิกษุและสามเณร ในล้านนามีการสร้างธรรมาสน์อยู่สองแบบคือ ธรรมาสน์เอก และธรรมาสน์โท ธรรมาสน์เอกหรือนิยมเรียกกันว่าธรรมมาสน์หลวงนั้นเป็นธรรมาสน์ที่มีขนาดใหญ่สร้างเป็นทรงปราสาทหรือทรงมณฑปมีหลังคาซ้อนชั้นมียอด และธรรมาสน์หลวงไม่มีหลังคาธรรมาสน์ ธรรมาสน์หลวงจะสร้างเป็นธรรมมาสน์มีแท่นสูงมีการปิดฝาทั้งสามด้าน เว้นด้านที่มีบันไดขึ้นธรรมาสน์ ธรรมาสน์โทคือธรรมาสน์ที่สร้างขึ้นมาเป็นแท่นขนาดเล็กมีขาสี่ขามีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนย้ายได้ธรรมาสน์โทไม่มีการสร้างแบบปราสาทและการปิดผนังทึบสามารถมองเห็นองค์เทศน์ได้ซึ่งมีลักษณะที่ต่างจากธรรมาสน์หลวง ธรรมาสน์โทเป็นธรรมาน์ที่นิยมกันในปัจจุบัน การสร้างธรรมาสน์หลวงจะสร้างภายในวิหารนิยมตั้งอยู่ทางด้านเบื้องขวาของพระประธานภายในวิหาร ใกล้กับที่ตั้งของแท่นสังฆ์หรืออาสนะสงฆ์(ที่นั่งพระสงฆ์) สร้างโดยเครื่องไม้ทั้งหลังหรืออาจะสร้างแท่นด้วยปูนและประกอบเครื่องไม้ด้านบนแท่น ธรรมาสน์หลวงมีการสร้างโดยการปิดฝาผนังทึบทั้งสามด้านยกเว้นเพียงด้านทางขึ้นเท่านั้นสมัยโบราณการเทศน์ไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียง ดังนั้นการปิดผนังธรรมาสน์จึงทำให้เสียงก้องกังวาลมีความดังขึ้นมาทำให้ได้ยินได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถสร้างความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเปรียบเหมือนเสียงได้ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าเนื่องจากไม่สามารถเห็นองค์เทศน์ได้ธรรมาสน์หลวงตั้งอยู่ข้างพระประธานดังนั้นเสียงจึงเหมือนมาจากองค์พระประธานนั้นเอง ธรรมาสน์หลวงนิยมใช้สำหรับการเทศน์มหาชาติหรือการตั้งธรรมหลวง และเทศน์ในวันสำคัญทางศาสนาของชาวล้านนา ในเมืองเชียงแสนหลงเหลือวัดที่มีธรรมาสน์หลวงไม่มากนักเพราะส่วนมากถูกรื้อลงหลังจากการสร้างวิหารหลังใหม่ และความสำคัญของธรรมาสน์หลวงได้รับความนิยมน้อยลงเพราะปัจจุบันมีเครื่องขยายเสียงทำให้ในการเทศน์มีเสียงที่ดังทั่วถึงโดยไม่ต้องนั่งเทศน์บนธรรมาสน์ที่สุงและมีผนังปิดแล้ว จึงทำให้ธรรมาสน์โทถูกทำมาใช้แทนที่ธรรมาสน์หลวง(ธรรมาสน์เอก) ดังนั้นจึงไม่มีการสร้างธรรมาสน์หลวงแล้ววัดที่พบธรรมาสน์หลวงจึงมีอยู่เพียงไม่กี่วัดของพื้นที่เมืองเชียงแสน และธรรมาน์หลวงที่มีเอกลักษณ์ทางเชิงช่างของตนเองที่มีลักษณะของช่างฝีมือชาวไทใหญ่ที่ปรากฏในพื้นที่เมืองเชียงแสนคือ ธรรมาสน์วัดสบรวก โดยธรรมาสน์หลวงมีความงดงามแสดงให้เห็นถึงการสร้างธรรมาสน์โดยช่างชาวไทใหญ่ เรื่องราวที่ปรากฏบนธรรมาสน์ การวางโครงสร้างลวดลายมีความงดงามแสดงถึงความเจนจัดฝนฝีมือช่างไทใหญ่ที่ได้สร้างธรรมาสน์หลังนี้ขึ้นมา
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณวัตถุ : AA : Archeological Artefact ประวัติศาสตร์
.
เลขที่ : บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :