เป็นประเพณีของจีนสืบมาแต่โบราณนานกว่า 2000 ปีล่วงมาแล้ว ความเชื่อระหว่างพระพุทธศาสนา การบูชาบรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อและการถือเจ้า โดยมีการผสมผสานความเชื่อในศาสนาเทพเจ้า ผี ไสยศาสตร์ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของพิธีกรรม การบูชาเซ่นไหว้เทพเจ้า ที่ตนเคารพบูชาทุกวันที่ 15 เดือน 7 ของจีน จะเป็นเทศกาลสารทจีนหรือเรียกว่า “ตงง้วนโจ่ย” เป็นการไหว้ครั้งที่ 5ของปี การไหว้สารทจีนจะมีการไหว้แบ่งเป็น 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ไหว้เจ้าและเจ้าที่ ชุดที่ 2 ไหว้บรรพบุรุษ ชุดที่ 3 ไหว้ “ไปฮ้อเฮียตี้” (หมายถึงคนจีนรุ่นบุกเบิกที่เสียชีวิตโดยไม่มีลูกหลานสืบสกุล หรือผีไม่มีญาติ) นอกจากเทศกาลสารทจีนแล้วในเดือน 7 ของจีน (ช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี) ยังมีพิธี “ซิโกว” ซึ่งแปลเป็นไทยว่าการ ทิ้งกระจาดวิญญาณ มีตำนานเล่ากันมาว่า สมัยจักรพรรดิอู่ แห่งราชวงศ์เหลี่ยง (พ.ศ. 1683 - 1738) มีเรื่องเกิดขึ้นกล่าวคือจักรพรรดิอู่ทรงสุบินว่ามีผู้มาขอให้พระองค์ทำการราชพิธี ทำบุญกุศลอุทิศ ให้แก่ญาติพี่น้องที่ตายไปแล้ว ทั้งทางบก ทางทะเล “จงอุทิศตนเองให้แก่ความต้องการอันสมควรแก่ประชาชน จงเคารพในฝีมือและดวงวิญญาณ แต่อย่าเข้าใกล้มากนัก เช่นนี้จึงเรียกได้ว่า เป็นคนมีปัญญา” เมื่อทรงสุบินเช่นนั้น พระองค์จึงทรงเรียกราชบัณฑิตประจำสำนักเข้ามาเฝ้าแล้วตรัสถามเพื่อแก้สุบินนิมิต ราชบัณา ทูลว่าทายาทของพระองค์ 3 คืน ที่ล้มตายจากไปนั้นต้องวิบากกรรมหนัก อดโซ ไม่ได้และอุทิศไปให้ พระองค์จึงได้ทรงประกอบราชพิธีทำบุญแล้วจึงทรงอุทิศส่วนกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่เป็นเปรตชนทั้งหลายได้มาอนุโมทนารับส่วนบุญทั่วกัน เปรตชนเมื่อได้รับส่วนบุญแล้วก็พากันดีใจอวยพรให้ญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์มีความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ตัวเขาจะได้ไปผุดไปเกิดเสียที ประชาชนนอกจากมาทำการกราบไหว้สักการบูชาองค์เจ้าพ่อ – เจ้าแม่แล้วยังมีการนำสิ่งของต่างๆ ประกอบด้วยข้าวสาร–น้ำตาลทราย และอาหารแห้งต่างๆ มาบริจาคเพื่อร่วมในการทำพิธีทิ้งกระจาดให้กับประชาชนผู้ยากไร้ซึ่งมาร่วมรับสิ่งของที่ทิ้งกระจาด
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
.
เลขที่ : ต. ปากน้ำโพ อ. เมืองนครสวรรค์ จ. นครสวรรค์ 60000
นายวิทวัส ตันธิติกุล
099-2397987
อาจารย์วิรัช กาฬภักดี : มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา :