การแห่เจ้าพ่อ–เจ้าแม่ ปากน้ำโพ เกิดขึ้นหลังจากโรคห่า(อหิวาตกโรค) และฝีดาษระบาดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2460-2462 ชาวปากน้ำโพได้รับความเดือดร้อนมีผู้คนล้มตายและเจ็บป่วย จำนวนมาก ด้วยเหตุที่ว่าวิทยาการแพทย์สมัยใหม่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ทำให้ชาวบ้านหันไปพึ่งหมอจีน (ซินแส) เพื่อช่วยรักษาโรค แต่ไม่สามารถหยุดโรคระบาดได้ ชาวบ้านจึงหันไปหาที่พึ่ง จากเทพอารักษ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และมีเหตุบังเอิญ ได้มีชาวบ้านบนบานต่อเจ้าพ่อเทพารักษ์หรือปูนเถ้ากง เพื่อขอให้ปัดเป่าโรคร้ายไปจากหมู่บ้าน และได้ทำการเชิญเจ้ามาเข้าทรง เพื่อทำพิธีรักษาโรคด้วยการเขียน “ฮู้” และนำไปเผาใส่น้ำดื่มกิน ปรากฏว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ โรคร้ายที่ได้ดับชีวิตคนในหมู่บ้าน ได้หยุดการระบาดลง ผู้คนปราศจากโรคภัย จนเป็นที่เลื่องลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อเทพารักษ์ “งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ” ในสมัยเริ่มแรกนั้นมีวัตถุประสงค์ในการที่จะนำองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ แห่ไปในเส้นทางต่างๆ ในเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สักการะ และเป็นการปัดเป่าทุกข์ภัยเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่เมืองและชาวเมืองปากน้ำโพ โดยมีการแสดงในขบวนแห่บ้าง เช่น สิงโต ล่อโก้ว แต่ด้วยเหตุที่การจัดให้มีงานแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ นี้อยู่ในช่วงของเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นบรรยากาศในช่วงของการเฉลิมฉลอง ดังนั้น จึงมีการจัดขบวนแห่ต่างๆ ลงไปในขบวนแห่ในแนวของตำนานต่างๆ เช่น การแสดงตำนานพระถังซำจั๋ง เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งในเวลาต่อมาจึงได้มีขบวนแห่ที่ประสมประสานทั้งการแห่องค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ และการแสดงต่างๆ ให้เกิดเป็นความรู้สึกทั้งความเป็นสิริมงคล และการเฉลิมฉลองปีใหม่ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนจัดให้มีการไหว้ในช่วงเทศกาลตรุษจีนอยู่แล้ว ซึ่งต่อมาได้ประสมประสานจนเป็นงานประเพณีของชาวนครสวรรค์ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเกือบเจ็ดสิบปีมาแล้ว จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยจะจัดให้มีขบวนแห่รอบตลาดในเวลากลางคืนของวันที่สาม (ชิวชา) และเวลากลางวันของวันที่สี่ (ชิวสี่) นับจากวันตรุษจีนของทุกปีวันตรุษจีน เป็นการนับวันตามปฏิทินจีน ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีนเป็นวันที่ 1 เดือน 1 ของจีน
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล
.
เลขที่ : ต. ปากน้ำโพ อ. เมืองนครสวรรค์ จ. นครสวรรค์ 60000
นายวิทวัส ตันธิติกุล
099-2397987
อาจารย์วิรัช กาฬภักดี : มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา :