ไทยวน ไตโยน ไตยน หรือไทโยนก เป็นชื่อเรียกชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่อาศัยอยู่ในล้านนาในอดีตหรือภาคเหนือตอนบน ปัจจุบันนิยมเรียกตนเองว่า “คนเมือง” ซึ่งอาศัยอยู่ภายในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แบะแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มไทยวนที่อพยพไปอยู่พื้นที่นอกล้านนาทั้งการอพยพกวาดต้อนด้วยการศึกสงคราม และการอพยพเพื่อตั้งถิ่นฐานเพื่อหาที่ทำมาหากินเช่น ไทยวนในเขตจังหวัดตาก จังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงบริเวณภาคกลางของประเทศไทยซึ่งเป้นไทยวนที่ถูกกวาดต้อนในรัชกาลที่ 1 เป็นไทยวนที่อพยพจากเมืองเชียงแสนคือบริเวณจังหวัดสระบุรี ราชบุรีและแถบอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ไทยวนถือกำเนิดตามตำนานกล่าวว่าถิ่นฐานดั่งเดิมของชาวไทยวนคือ แคว้นโยนก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำโขงตอนกลาง แคว้นโยนกนาคพันธุ์มีพัฒนาการมาช้านานและมีความเกี่ยวพันธ์กับกลุ่มชนพื้นเมืองที่ศัยอยู่ในพื้นที่ดั่งเดิมซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขา ในตำนานล้านนาเรียกกลุ่มนี้ว่าชาวลวะ หรือ ลัวะ ดำรงชีพด้วยการปลูกพืชไร่ หาของป่า และอีกกลุ่มคือชาวไท ซึ่งอพยพเคลื่อนย้ายมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน มักอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มตามลำน้ำ ทำนาดำมีระบบเหมืองฝาย กลุ่มชนทั้งสองกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์และรับแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน การการผสมผสานจนเกิดกระบวนการทำให้เกิดความเป้นไท สืบต่อกันมาหลายศตวรรษ ดังที่ปรากฎในตำนานพื้นเมืองเชียงแสนที่กล่าวถึงกลุ่มคนไทที่ได้มาสร้าง เวียงโยนก หรือเมืองโยนก ในเขตพื้นที่ราบลุ่มน้ำกก ความหมายของคำว่า ยวน โยน โยนก ยน หรือยูนในภาษาพม่ามีความหมายอยู่สองประการคือ ประการแรก หมายถึง “ดินแดนเก่าแก่ในแถบลุ่มน้ำกก” ดังที่ปรากฏช่อ “เวียงโยนก” หรือในตำนานนิยมใช้คำว่า “เมืองยวน” ซึ่งหมายถึงเมืองหรือเวียงของคนยวน ในสมัยพญามังรายเมื่อพระองค์ได้ทำการรวบรวมเมืองต่างๆในแถบลุ่มน้ำกกเข้าด้วยกันก็มีการใช้ชื่อเรียก “แคว้านโยน” หรือ “โยนรัฐ” ตามชื่อดั่งเดิมของเมืองที่ปรากฏมาช้านาน ประการที่สอง คำว่า “โยน” หรือ “ยวน” หมายถึงชนชาติไทกลุ่มหนึ่งที่มีความเป็นมาเก่าแก่ ดังปรากฏในหลักฐานว่าในอดีตชาวสยามเรียกชนชาติไทในภาคเหนือตอนบนว่า “ยวน” ซึ่งปรากฏในลิลิตยวนพ่าย ส่วนชาวพม่าเรียกชาวเชียงใหม่ว่า “โยนเชียงใหม่” เรียกว่าลำปาว่า “โยนลคอร(โยนละกอน)” ปัจจุบันชาวไทยวนในภาคเหนือตอนบนมักจะเรียกตนเองว่า “คนเมือง” คำนี้เกิดขึ้นมาภายหลัง ทั้งนี้ชาวไทยวนที่อพยพจากเมืองเชียงแสนไปอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ยังคงเรียกตนเองว่าเป็นคนยวนอยู่ และไม่เคยเรียกตนเองว่าคนเมืองเลย เทคนิคการทอผ้าของชาวเชียงแสน เทคนิคการจก การ “จก” (Discontinuous Supplementary Weft) เป้นเทคนิคการทอผ้าให้เกิดเป็นลวดลายโดยวิธีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่มพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า กระทำโดยใช้ขนเม่น ไม้หรือเหล็กยาวปลายเรียวมน หรือนิ้วมือ ยก จก หรือล้วงด้ายเส้นยืนขึ้นเพื่อสอดด้ายเส้นพุ่งพิเศษสีต่างๆ เข้าไปให้เกิดเป็นลวดลาย เทคนิคนี้จะประกอบด้วยด้ายเส้นพุ่งสองชุด กล่าวคือ ด้ายเส้นพุ่งธรรมดาจะทอเป็นพื้นผ้าและด้ายเส้นพุ่งพิเศษจะทอเป็นลวดลาย เทคนิคการขิด หรือเทคนิค “มุกเส้นพุ่งพิเศษ” (Continuous Supplementary Weft) คำว่า”มุก” ในภาษาล้านนาหมายถึงลักษณะลวดลายที่นูนขึ้นมา เป้นคำเรียกเทคนิคการทอโดยใช้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษเพิ่มเข้าไปทำให้เกิดลวดลาย วิธีการทำคือ “ไม้ดาบ”(Blade) คัดด้ายเส้นยืนตามลวดลายที่ต้องการ จากนั้นจึงเก้บลายไว้บนด้ายเส้นยืนหลังฟืมด้วย “ไม้เก็บลาย” (Shed Stick) เทคนิคนี้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษจะสอดเข้าไปตลอดหน้ากว้างของผ้าจากริมด้านหนึ่งสู่ริมอีกด้านหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นลวดลายตามหน้าผ้า ถ้าดึงด้ายเส้นพุ่งพิเศษที่เป็นลวดลายเพิ่มเข้าไปนี้ออกพื้นผ้าที่เกดจากการขัดสานธรรมดาของด้ายเส้นยืนและด้ายเส้นพุ่งยังคงอยู่ เทคนิคการทอ “มุกเส้นพุ่งพิเศษ” นี้มีการพัฒนาวิธีการทอให้สามารถผลิตซ้ำด้วยการใช้ตะกอหรือเขาพิเศษที่เพิ่งเข้ามานอกเหนือจากตะกอที่ใช้ในการขัดสานธรรมดา ซึ่งตะกอพิเศษนี้จะเป้นตะกอแนวตั้งเรียกว่า “เขายัง” (Vertical Heddles) เป็นที่แขวนไม้เก็บลาย ทำให้สามารถทอซ้ำลายเดิมได้ เทคนิคการเกาะล้วง”เกาะล้วง” (Tapestry Weaving) เป็นเทคนิคการทอผ้าให้เกิดลวดลายโดยการใช้ด้ายเส้นพุ่งธรรมดาหลายสีสอดย้อนกลับไปมาเป้นช่วงๆ ให้เกาะเกี่ยวและผูกเป็นห่วงรอบด้ายเส้นยืนเพื่อยึดด้ายเส้นพุ่งแต่ละเส้นไว้ ทำให้เกิดลวดลายแบบเรขาคณิตหลากสี เทคนิคนี้เป้นที่นิยมในการทอผ้าของชาวไทลื้อในเขตล้านนาตะวันออกทั้งจังหวัดน่าน จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ปรากฏในหลักฐานเก่าแก่ในซิ่นเชียงแสนโบรารที่พบในจังหวัดน่าน คำเรียกเทคนิคนี้ของชาวไทลื้อมีหลายคำได้แก่ “เกาะ” “คล้อง”(ออกเสียง “ก๊อง”) “ค้อน”(ออกเสียง”ก๊อน) เฉพาะจังหวัดน่านเรียกว่า “ล้วง” ทั้งนี้ลวดลายที่ปรากฏขึ้นเกิดจากการสลีบสีด้ายเส้นพุ่งธรรมดาเป็นช่วงๆ โดยไม่ได้ใช้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษเพิ่มเข้าไปในผืนผ้า ซึ่งต่างจากเทคนิคขิด และเทคนิคจกที่ใช้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษ อ้างอิง ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล,มรดกภูมิปัญญา ผ้าล้านนาตะวันออก(น่าน แพร่ เชียงราย พะเยา) สรัสวดี อ๋องสกุล,พื้นเมืองเชียงแสน.
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : เวียงเหนือ ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150
นางสุเมตต์ ลังกาใจ
0946142282
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :