PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-57150-00008

ตุงดอกเข็ม/ตุงใย/ตุงใยก๋ำปุ้ง/ตุงใยแมงมุม

ตุงเข็ม ตุงใย ตุงเข็ม คือตุงชนิดหนึ่งของชาวล้านนาบางพื้นที่เรียกว่าตุงดอกเข็มหรือตุงใย ทำจากการพันเส้นดายลงบนไม้ที่ไคว้กันเป็นรูปกากะบาด หรือรูปหกเหลี่ยมแล้วแต่ความสามารถของช่างทำตุง ชาวอีสานนิยมเรียกตุงชนิดนี้ว่าตุงใยแมงมุม ตุงชนินี้ชาวล้านนาดั้งเดิมนั้นจะทำกันในช่วงฤดูสลากภัตรเพราะเป็นเครื่องประกอบกันฑ์สลากหรือก๋วยสลากของชาวล้านนา เส้นด้ายที่พันไม้นั้นเมื่อพันเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเอาเข็มสอดเข้ากลางเส้นด้ายนั้นถือเป็นเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ การเก็บม้วนเส้นด้ายทำตุงจึงเกิดความงดงามและนิยมทำต่อกันในลักษณะของตุงไจย จึงทำให้เป็นที่นิยมทำประดับสถานที่ต่างๆในภายหลังนอกจากการทำประกอบต้นสลากหรือต้นครัวทาน และตุงอีกอย่างหนึ่งที่มีชื่อเรียกตุงใยที่เป็นการถักทอเส้นด้ายโดยการยึดโครงแล้วถักเส้นด้ายเป็นรูปตัวตุงเหมือนตุงไจยหรือตุงค่าคิงขนาดเล็กๆ โดยการยึดโครงให้เป็นรูปร่างตุงนั้นยึดโดยใช้เฝือขอ ตุงชนิดนี้ที่เชียงแสนนิยมทำกันที่บ้านศรีดอนมูล และในลำปางนิยมทำถวายช่วงสงกรานต์ ส่วนทางอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ นิยมทำถวายทานช่วงกฐิน ในส่วนของตุงเข็ม หรือตุงใย ตามที่ได้กล่าวในประเภทของตุงล้านนาแล้ว การทำตุงเข็ม ตุงใยยังมีอีกหลากหลายรูปแบบตามแต่ช่างทำตุงจะรังสรรค์ขึ้นมาเช่น ตุงเข็มที่นิยมกันในกลุ่มชาวไทลื้อและไทเขิน จะทำตุงเข็มที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับตุงไชย มีการเย็บขอบด้วยผ้าและขั้นห้องด้วยไม้ไผ่มีการร้อยดอกไม้เป็นอุบะ ปลายอุบะจะมีเข็มเย็บผ้า จะร้อยอุบะที่มีเข็มเย็บผ้าประดับเต็มผืนตุง นิยมถวายกันในงานประเพณีต่างๆเข็มเป็นหนึ่งในอัฐบริขารของพระแล้วยังมีความเชื่อที่ว่าการถวายเข็มจะทำให้เกิดมาชาติหน้าเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมเหมือนเข็ม ส่วนตุงดอกเข็ม หรือตุงเข็มที่ทำจากการพันด้ายลงบนไม้ที่ไคว้กันเป็นรูปกากบาด ปัจจุบันในเมืองเชียงแสนโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มที่ทำกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมเช่นกลุ่มกองคนม่วน ชุมชนวัดปงสนุกมีการทำตุงเข็มหรือตุงใยแมงมุมรูปแบบต่างๆประดับสถานที่ ประดับงานประเพณีในชุมชน ถือเป็นการฟืนฟูการทำตุงชนิดนี้ขึ้นมาในเมืองเชียงแสน เพราะตุงหรือการทำดอกเข็มนี้พบในกลุ่มชาวเชียงแสนอพยพในจังหวัดราชบุรีอีกด้วย ตุงใยก็เป็นชื่อเรียกตุงไชยชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโปรงไม่ทึบ มีทั้งวิธีการทอ และการถัก ตุงใยที่มีลักษณะการทอจะทอเหมือนกับตุงไชย แต่ละไม่ทอทึบ จะมีไม้สอดเป็นขั้นๆแล้วทอในส่วนที่สอดไม้ในส่วนอื่นจะไม่มีการทอตุงแบบนี้ก็นิยมเรียกว่าตุงไยเช่นเดียวกัน ส่วนตุงไยที่เป็นที่รู้จักกันในล้านนาเป็นตุงใยวิธีการถักคล้ายใยแมงมุมแต่จะมีโครงรูปตุงถังใยแมงมุมเป็นห้องๆที่มีไม้ขั้นไว้ ตุงชนิดนี้นิยมถวายทานได้ในทุกโอกาส ทั้งงานปอยหลวง งานกฐิน งานสงกรานต์ หรือใช้สำหรับประดับเครื่องไทยทานต้นครัวทานต่างๆเพื่อความสวยงานอีกด้วย



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : วัดป่าสักหางเวียง ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นางกรรณิกา นาระต๊ะ

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

0879535348

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :485 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 30/12/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 30/12/2022


BESbswy