วัดเลียบ เดิมเป็นสำนักสงฆ์สายวิปัสสนา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2391 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่มาของชื่อวัดนั้นสันนิษฐานไว้ว่า น่าจะเป็นการสร้างวัดเลียบคันคูเมือง บางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะมาจาก กิริยาอาการเดินริมขอบของพระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) สำนักสงฆ์แห่งนี้ตั้งขึ้นมาได้ 44 ปี มีเจ้าอาวาส 10 รูป จนถึงยุคท่านพระอาจารย์ทิพย์เสนา ทิพฺพเสน (แท่นทิพย์) เมื่อท่านมรณภาพลงก็ไม่มีพระสงฆ์รูปใดครองสำนักสงฆ์แห่งนี้ต่อ เป็นเหตุให้ต้องร้างไปเป็นเวลาเกือบปี ต่อมาพระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) ได้มาบุกเบิกสร้างวัดเลียบขึ้นอีกครั้งเป็นวัดในสังกัดธรรมยุตินิกายและมาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. 2435 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีญาติโยม ทายกทายิกาและผู้ศรัทธาช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดและขยายพื้นที่ออกไปและขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ปี พ.ศ. 2434 พระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) ได้ทำการปั้น “พระพุทธจอมเมือง” ขึ้น พระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานเป็นพระประธานในศาลาการเปรียญ (หอแจก) ปี พ.ศ. 2435 ได้ทำการก่อสร้างอุโบสถ (สิมไม้) ซึ่งเป็นอุโบสถไม้ หลังคามุงสังกะสี มีเฉลียงโดยรอบ ปี พ.ศ. 2436-2437 ได้ทำการแกะสลักพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปไม้ปางสมาธิ ศิลปะรัตนโกสินทร์อิทธิพลลาว ประดิษฐานเป็นพระประธานในสิมไม้ และในช่วงเวลาเดียวกันก็ได้แกะสลักพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ศิลปะรัตนโกสินทร์อิทธิพลลาวด้วยอีกองค์หนึ่ง
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture ศาสนสถาน
.
เลขที่ : 132 ถนน ศรีณรงค์ ต. ในเมือง อ. เมืองอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี 34000
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. สมศรี ชัยวณิชยา
0813766884
ผศ.ดร.สุวภัทร ศรีจองแสง : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี :