ธนาคารปูม้าพุมเรียง ในอดีต ทุกครั้งที่ชาวประมงในอ่าวพุมเรียง ออกเรือไปหาปูม้าและสัตว์น้ำต่างๆ เพื่อมายังชีพและค้าขาย ก็มักจะจับปูม้ากลับมาได้มากมาย วันละหลายร้อยกิโลกรัม แต่เมื่อเวลาผ่านไป อุปกรณ์จับสัตว์น้ำถูกพัฒนาให้มีศักยภาพสูง ประกอบกับความต้องการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ทั้งในประเทศเองและอุตสาหกรรมการส่งออกต่างประเทศ ปริมาณสัตว์น้ำโดยเฉพาะปูม้าและปูทะเลในอ่าวพุมเรียงลดลงอย่างน่าใจหาย คุณจรินทร์ เฉยเชยชม เห็นการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติในบ้านเริ่มหดหาย จึงตระหนักดีว่า หากปล่อยไว้เช่นนี้ ไม่นานต้องส่งผลกระทบรุนแรงต่อวิถีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างแน่นอน จึงหารือเพื่อนร่วมอาชีพในท้องถิ่น และจัดตั้ง ธนาคารปูม้า ขึ้นในปี 2550 เพื่อเพิ่มปริมาณปูในอ่าวพุมเรียง โดยการรับบริจาค แม่ปูไข่นอกกระดอง จากชาวประมง มาฝากอนุบาลเลี้ยงในกระชังให้เติบโตเป็น ลูกปู หลังจากนั้น นำไปปล่อยให้เติบโตในอ่าวพุมเรียง ช่วยให้ปูม้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึง ดอกเบี้ย ที่ได้รับกลับคืนมาจากการฝากแม่ปู แนวคิดดังกล่าว ได้รับความชื่นชมจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นอย่างมาก และในทางปฏิบัติ กระบวนการธนาคารปูม้า มีการขับเคลื่อนโดยใช้ จิตอาสา ในระยะแรก คุณจรินทร์และสมาชิกของกลุ่มต้องใช้ทุนส่วนตัวจ่ายค่าน้ำมัน เพื่อขับเรือนำลูกปูไปปล่อยในอ่าวพุมเรียง ซึ่งวิธีการนี้ สมาชิกกลุ่มย่อมไม่สามารถจะแบกรับต้นทุนไปได้ตลอด จึงมีการจัดทำ การเชื่อมท่องเที่ยวกับการอนุรักษ์ เพื่อให้ธนาคารปูม้าสามารถดำเนินต่อไปได้ในระยะยาว หลังจากที่ธธนาคารปูม้าดำเนินการมาได้มาระยะหนึ่ง หน่วยงานต่างๆ เข้ามาให้ความรู้ พัฒนาเทคโนโลยี และแนะนำให้ชุมชนเชื่อมโยงธนาคารปูม้ากับการท่องเที่ยวชุมชน จึงได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บ้านพุมเรียง เพื่อเปิดให้บริการเป็นศูนย์การเรียนรู้การทำประมงปูม้า เพื่อให้ธนาคารปูม้าสามารถดำเนินต่อไปได้ในระยะยาว
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้น
.
เลขที่ : ต. พุมเรียง อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี 84110
นายจรินทร์ เฉยเชยชม
ธีรพันธุ์ จันทร์เจริญ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี :