PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : KP-57150-00021

ขนมปาด

ขนมปาดเป็นขนมของชาวล้านนาชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือข้าวเจ้ากวนเข้ากันกำน้ำอ้อยก้อนขนมจะมีลักษณะคล้ายขนมศิลาอ่อน จะมีสีออกจะน้ำตาลเข้มจากสีของน้ำอ้อย มีรสชาติหวานมัน โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดฝอยเเละงา ขนมปาดเป็นขนมที่เลี้ยงในงานบวชพระเณร ใช้สำหรับเลี้ยงแขกหรือแจกจ่ายแก่แขกที่มาร่วมงาน มักจะทานแนมกับข้าวแคบปิ้งหรือข้าวแคบทอดและข้าวควบหรือข้าวเกรียบว่าว พิธีกวนขนมปาดหรือการคนขนมปาดนั้นเป็นประเพณีในท้องถิ่นที่สำคัญของชาวล้านนา เป็นกุศโลบายเพื่อการรวมลูกหลานหรือคนในท้องถิ่น เพราะการทำขนมปาดนั้น ต้องอาศัยกำลังคนและอาศัยระยะเวลาในการทำ ในสมัยก่อนนั้นการเตรียมของสำหรับการทำขนมปาด ใช้ระยะเวลาหลายวัน เพราะในสมัยก่อนจะใช้วิธีตำข้าว โดยใช้ “มอง” หรือครกกระเดืองไม้นาดใหญ่ในการตำ เพื่อจะนำข้าวที่ตำแบบละเอียดแล้วมาทำขนม แต่ในปัจจุบันจะใช้แป้งสำเร็จรูปแทน “ขนมปาด “ เป็นขนมที่มี นัยยะ คนสมัยก่อนเขาพูด กันว่า ถ้าใครไม่รวย ไม่มีบริวารมากจะไม่สามารถทำขนมชนิดนี้ได้เลย เพราะใช้ต้นทุนสูง ทั้งเงินทั้งคน เวลาทำจะบ่งบอกด้วยว่าคนทำเป็นคนยังไง อดทนไหม ใจเย็นหรือไม่ เพราะต้องใช้ความละเอียด ผู้เฒ่าสมัยก่อนจะดูว่าที่ลูกเขยลูกสะใภ้ก็จากงานกวนขนมปาด และขนมปาดเป็นยอดขนมด้วย เป็นขนมเอาไว้ไหว้สา เอาไว้ตาน (ถวายพระ) แล้ว ได้บุญ ซึ่งเป็นวิถีอันงดงามของสังคมคนเมืองหรือคนล้านนาสมัยเก่า ในปัจจุบัน พิธีกนขนมปาดยังได้รับการสืบทอดต่อกันมา ในแต่ละยุคสมัยอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น วิธีการทำ อุปกรณ์ในการทำแต่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของทางภาคเหนือก็ยังคงมีการกนขนมปาดหรือคนขนมปาดในงานประเพณีสำคัญๆ ที่เห็นได้ชัดก็คือ งานสงกรานต์และงานบวช ถือได้ว่าพิธีกนขนมปาดหรือการคนขนมปาดในงานบุญนั้เป็น สร้างความสามัคคีและความรักใคร่ของคนในท้องถิ่นได้อย่างดียิ่ง เป็นพิธีหรือประเพณีที่ควรจะอนุรักษ์ สืบสานเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้วิถีชีวิตที่ปู่ย่าตายายได้สั่งสมเอาไว้ นับ ได้ว่ามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นวัฒนธรรมอันดีงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : สบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย 57150

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :297 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 30/12/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 30/12/2022