PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : KP-24140-00006 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ชุมชนบ้านท่าไฟไหม้
Ban Tha Fai Mai

ชุมชนบ้านท่าไฟไหม้ ตั้งอยู่บ้านหมู่ 4 ตำบลคลองบ้านโพธิ์ มีความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลน ก่อเกิดการเรียนรู้ การใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชน และทรัพยากรทางธรรมชาติ การรักษาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม อาทิ การจับสัตว์น้ำในแม่น้ำบางปะกงมีการกำหนดช่วงเวลาเพื่อให้เกิดการพักฟื้นของสิ่งมีชีวิต ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จาก ต้นจากที่มีการสืบทอดภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์มาจากรุ่นสู่รุ่น การใช้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้อื่นๆ อาทิ ต้นรุ่ย ที่สามารถนำผลมาแปรรูปเป็นอาหารพื้นถิ่นได้ จากความรู้สู่แนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติก่อเกิดการถ่ายทอดและสืบทอดกันของคนในชุมชนบ้านท่าไฟไหม้จนก่อเกิดวัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่งดงามทรงคุณค่ามีรายละเอียดดังนี้ 3.1) การทำตับจาก วิถีชีวิตกับการใช้ประโยชน์จากใบจาก นอกจากที่เราเห็นในท้องถิ่นอื่นๆ คือ ขนมจาก การทำตับจากเพื่อใช้ในการมุงหลังคายังคงเห็นได้อยู่ในหลายๆ พื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง จากคำบอกเล่าของคุณป้าเรียบร้อย รัตนะ กล่าวว่าการทำตับจากมุงหลังค่ามีมาจากรุ่นสู่รุ่นทำกันมานานมาก สมัยก่อนบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนก็จะมุงหลังคาจากกัน แต่ปัจจุบันก็ลดน้อยลงตามยุคสมัย แต่ก็ยังรับทำตับจากขายอยู่ ซึ่งในอดีตจะทำเองทุกขั้นตอน แต่ในปัจจุบันจะมีระบบการรับจ้างเฉพาะการเย็บ เดียวจะมีคนมารับไปขายโดยได้ค่าเย็บราว 1 บาทต่อตับ 3.2 การแปรรูปดอกจาก ในหนึ่งต้นของจากจะออกดอกปีละครั้ง ในการนำมาแปรรูปมีกระบวนการหลายขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกดอกจากจากต้น จากการเล่าถึงกระบวนการแปรรูปโดยพี่บุญมา นาคมี ได้กล่าวว่า การเลือกดอกจากจะต้องเลือกที่ต้นจากที่ขึ้นอยู่ริมแม่น้ำเท่านั้น ถ้าต้นจากที่ขึ้นอยู่ห่างจากแม่น้ำจะทำให้รสชาติของดอกจากฝาด นำไปแปรรูปหรือปรุงเป็นอาหารไม่อร่อย การแปรรูปดอกจากจะต้องนำมาล้างและลอกเปลือกออกจนเห็นสีขาวของส่วนอ่อนด้านใน แล้วนำไปแช่ไว้ในน้ำมะขามเปียกเจือจาง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำให้ดอกจากที่ลอกเปลือกแล้วสีไม่ดำ จากนั้นนำมาต้มน้ำเดือนจำนวน 1 น้ำ เพื่อให้ดอกจากสุก สามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหาร อาทิ แกงกระทิ ผัด ต้มเป็นเครื่องเคียงน้ำพริก เป็นต้น 3.3 การแปรรูปลูกรุ่ย ลูกรุ่ยเป็นผลไม้ได้จากต้นรุ่ย เป็นพรรณไม้ชายน้ำป่าชายเลน หรือถั่วขาวในบางพื้นที่ ในบ้านท่าไฟไหม้จะมีขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จะออกลูกปีละ 1 ครั้ง เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำมาแปรรูป โดยสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จากการลงพื้นที่ค้นหาข้อมูลผ่านการบอกเล่าของพี่บุญมา นาคมี ได้กล่าวว่า ลูกรุ่ย (ลุ้ยคำเขียนของท้องถิ่น) สร้างรายได้ให้กับชุมชนอยู่ในทุกๆ ปี จะมีผลผลิตช่วงปลายฤดูแล้ง จนเข้าฤดูฝน กระบวนการแปรรูปจะยากกว่าการแปรรูปดอกจาก จะมีขั้นตอนตั้งแต่การปอกเปลือก และการต้ม ซึ่งต้องต้มจำนวน 3 น้ำในน้ำเดือด ถึงจะทำให้ลูกรุ่ยนั้นมันคล้ายกับถั่ว



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the อาหารและโภชนาการ
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : หมู่ 4 บ้านท่าไฟไหม้ ต. คลองบ้านโพธิ์ อ. บ้านโพธิ์ จ. ฉะเชิงเทรา 24140

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นางบุญมา นาคมี

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นายสมศักดิ์ ทองแก้ว : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ : 2565  fast track

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
vdo
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :429 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 16/11/2022 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 08/04/2024