จังหวัดสตูลมีศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลาย ภูมิปัญญาด้านกีฬาและการละเล่นที่น่าสนใจคือ การแข่งว่าว จังหวัดสตูลจัดให้มีการแข่งขันว่าวนานาชาติที่สนามบินเป็นประจำเกือบทุกปี โดยส่วนใหญ่ทางมาเลเซียจะมาแข่งขัน เป็นว่าว “วาบูแล” (ภาษามลายูถิ่น) หรือ “วาบูลัน” (ภาษามลายูถิ่นสตูล) คือว่าววงเดือน เพราะกลางลำตัวทำเป็นวงกลม อย่างวงเดือน ส่วนล่างสุดเป็นส่วนโค้งรูปคล้ายเขาควาย คนท้องถิ่นจึงเรียกว่าวเขาควาย กระดาษตัวว่าวเขียนวาดลวดลายอย่างวิจิตร กติกาการแข่งขันคือ ว่าวที่ชักขึ้นพร้อมกัน ว่าวตัวไหนที่ชักขึ้นสูงทำมุม 90 องศา กับพื้นดินได้ก่อน ว่าวตัวนั้นก็จะชนะ โดยนิยมแข่งขันครั้งละ 2 ตัว งานประเพณีว่าวสตูลเริ่มเมื่อปี 2519 โดยการริเริ่มของโรงเรียนสตูลวิทยา หลังจากนั้นทางจังหวัดจะกำหนดเดือนจัดงานประเพณีว่าวสตูลเป็นเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงนั้นลมว่าวพัดมาสม่ำเสมอ จะมีมหกรรมว่าวนานาชาติ เป็นช่วงที่เหมาะกับการเล่นว่าว ชาวบ้านจะนำว่าว มาร่วมการแข่งขัน เพื่อความสนุกสนาน และผ่อนคลาย ถ้ามีงานว่าวเราก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการขายของที่ระลึกเกี่ยวกับว่าว ชาวบ้านได้นำอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าต่าง ๆ มาขายในงาน แต่พอเกิดโรคโควิด-19 ระบาด ทำให้ว่างเว้นจากการแข่งขันไปหลายปี เพิ่งจะมาจัดประเพณีว่าวสตูล ครั้งที่ 41 เมื่อวันที่ 27-28 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งว่าวควายมีบทบาทสำคัญในการแข่งขันเป็นทั้งกีฬา และการละเล่นพื้นเมืองของชาวสตูล มีเซียนว่าวเข้าร่วมจากหลายประเทศ และหลายจังหวัดเพื่อล่ารางวัล ทั้งประเภทสวยงาม สร้างสรรค์และว่าวขึ้นสูง
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
กีฬาภูมิปัญญาไทย : SM : Folk Sport game and Martial arts การเล่นพื้นบ้าน
กีฬาพื้นบ้าน
.
เลขที่ : สนามบินกองทัพอากาศ ต. คลองขุด อ. เมืองสตูล จ. สตูล 91000
นายเวียง ตั้งรุ่น นายเลิศศักดิ์ พิกุล นายอนันต์ โพธิ์ทอง ครูพงษ์ศักดิ์ คงสง
0824375125
ดร.เจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ :