การทำผ้าด้นมือ มีต้นกำเนิดจากต่างประเทศ แต่มาได้รับความนิยมในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว โดยจังหวัดแพร่ถือเป็นแหล่งผลิตแหล่งใหญ่ของประเทศ ซึ่งปราชญ์ผ้าด้นมือประจำท้องถิ่น คือ คุณพรทิพย์ ฉ่ำวิเศษ ซึ่งสะสมประสบการณ์ สร้างสรรค์ผลงานที่มีเสน่ห์แบบดั้งเดิม พร้อมเติมเต็มด้วยความคิดสร้างสรรค์ตามยุคสมัย ได้เรียนรู้ทุกขั้นตอนการผลิตมาตั้งแต่วัยเยาว์ ประกอบกับมีความรู้ที่จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาคหกรรมศาสตร์ แผนกผ้าและเครื่องแต่งกาย จึงนำมาพัฒนาสานต่อเป็นอาชีพ ตั้งแต่ปี 2528 ได้นำความรู้พัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ ให้ลวดลายแตกแขนงออกไปมากมาย โดยเรียนรู้มาจากครูแหม่มชาวอเมริกาที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ได้สอนอาชีพนี้ให้แก่ชาวบ้านในจังหวัดแพร่ ซึ่งบ้านต้นไคร้มีบางส่วนที่เป็นชุมชนคริสต์เตียนตั้งแต่รุ่นคุณแม่ โดยยึดเป็นอาชีพขายส่งตลาดในกรุงเทพฯ ซึ่งเดิมจะทำลวเดลายแบบง่ายๆ ลากด้วยไม้บรรทัดสอยเป็นเส้นตรง หรือทแยง ซึ่งจนเมื่อเรียนจบ คิดดัดแปลงใส่ลวดลายเพิ่มเติม ทำให้เป็นที่ถูกใจลูกค้าแล้วไปบอกต่อ ช่วยขยายให้กลุ่มลูกค้าออกไป ปัจจุบัน มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมผ้าด้นมือบ้านต้นไคร้ หมู่ที่ 5 ถนน ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นงานหัตถกรรมที่ทำด้วยมือทั้งหมด คือ งานเย็บผ้าด้วยมือตามลวดลายต่าง ๆ ของผ้าที่ได้กำหนดไว้บน ผืนผ้า สินค้าประกอบด้วย หมอนอิง ผ้าคลุมเตียง ผ้าห่ม แต่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ยอดการสั่งผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือลดลงตามสถานการณ์ แต่ยังสามารถพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าในมิติทุนทางวัฒนธรรมได้ ความเป็นมาของการทำผ้าด้นมือ ในสมัยก่อนเมื่อครั้งที่ยังไม่มีจักรเย็บผ้า ชาวบ้านใน ชุมชนตำบลช่อแฮ นิยมใช้เข็มกับด้ายในการซ่อมแซมเสื้อผ้าเย็บเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 โดยใช้วิธีการตามภูมิปัญญาดั้งเดิม คือ การเนา ด้น สอย ปัก และชุนด้วยมือมาโดยตลอด หัตถกรรมผ้าด้นมือในชุมชนตำบลช่อแฮ มีกลุ่มสตรีแม่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านธรรมเมือง รวมกลุ่มกันทำเป็นอาชีพที่เริ่มจากการประยุกต์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีมาแต่โบราณมาใช้ในการประกอบอาชีพ คือ เทคนิคการด้นผ้าด้วยมือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หัตถกรรมผ้าด้นมือ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ 2538 กลุ่มสตรีได้รวมกลุ่มกันลงหุ้น โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มหัตถกรรมผ้าด้นมือบ้านธรรมเมือง โดยมีนางภัทรพร องศาเชาวลิต แกนนำจัดตั้งกลุ่ม ริเริ่มการจัดตั้งตามนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของรัฐบาลในยุคนั้น เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสตรี โดยได้มีการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อของบประมาณในการสนับสนุนเป็นทุนหมุนเวียนให้สมาชิกกลุ่มได้กู้ยืมนำไปลงทุนประกอบอาชีพหัตถกรรมผ้าด้วยมือ ซึ่งถือเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้ สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตผ้าด้นมือในปัจจุบัน 1. ผ้าฝ้ายสีลายต่างๆ 2. ใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ 3. ได้สำหรับด้น 4. เข็ม 5. เข็มหมุด 6. เหล็กยึดรูปตัว c 7. โครงไม้ทำราวยึดผ้า วิธีการทำผ้าด้วยมือ เริ่มจากการนำผ้ามาตัดตามแบบพิมพ์ที่วางไว้ แล้วนำไปเย็บต่อกันเป็นลวดลายต่างๆ เป็นผืนตามขนาดที่ต้องการ วาดลวดลายลงบนผืนผ้า แล้วปูผ้าลงบนพื้นแล้วนำใยสังเคราะห์ภูทับลงไป แล้วนำผ้าที่ต่อเป็นผื่นที่มีลวดลายแล้วปูทับใหญ่ลงไปอีกที แล้วเราด้านข้างติดกันทั้ง 4 ด้าน จากนั้นนำไปติดกับไม้ราวยึดด้วยเหล็กรูปตัว c ให้ตึง แล้วจึงใช้เข็มกับด้ายด้นตามลายที่เขียนไว้ ซึ่งต้องใช้ความปราณีต ความละเอียดอ่อนอย่างมากในการด้น เมื่อด้นเสร็จทั้งผืนเรียบร้อยแล้ว นำมาตกแต่งซอยริมให้แน่นมีความคงทนในการใช้งานแล้วแพ็คใส่ถุงบรรจุกล่องส่งให้ลูกค้า
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า
.
เลขที่ : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมผ้าด้นมือ ต. ช่อแฮ อ. เมืองแพร่ จ. แพร่ 54000
เกษร ปลาลาศ ประธานสภาวัฒนธรรม ต.ช่อแฮ
0819983653
doungporn.bee : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ :