วัดสบจันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงแสนอยู่ตรงใกล้กับวัดป่าสัก และวัดกู่เต้า เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินดินเตี้ยๆมีวิหาร เจดีย์ วิหารมีกู่ท้ายวิหารหรือคันธกุฏีประดิษฐานพระพุทธรูปในคันธกุฏี ในบันทึกของชาวเชียงแสนที่อพยพไปตั้งรกรากใหม่ที่เมืองแพร่ชาวบ้านสบจันได้อพยพไปยังบ้านพระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่ โดยมีบันทึกคำมะเก่าเมืองเชียงแสนได้บันทึกเหตุการณ์ชาวเชียงแสนถูกกวาดต้อนไปเมืองแพร่โดยเจ้าเมืองแพร่และเจ้าฟ้าเมืองยองดังนี้ “สักกราชได้ 1149 ตัว ปีเมืองเม็ด (พ.ศ.2330) เสิกเมืองลคอน เมืองใต้มาแวดเมืองเชียงแสนที่นี้ เดือน 8 ออ 9 ค่ำ วัน 4 พระญาแพล่ฟื้นไขประตูท่าม่านแล้ว กวาดเอาคนครัวออกไปหาทัพชาวละคอนป่าซางมากนัก เวียงเชียงแสนแตก เจ้าฟ้าเมืองยองก็กวาดเอาคนครัวเชียงแสนไปอยู่ปากของพายหน้าพุ้นแล เดือน 10 ออก 10 ค่ำ ทัพลคอนแลป่าซางหนีเสียเวียงแล เชียงแสนแตกปางพระญาแพล่กับเจ้ากองเมืองอยง ฟื้นนี้” และตำนานวัดหลวงเมืองมานได้ระบุผู้คนจากเมืองเชียงแสนที่ถูกกวาดต้อนมาไว้ในเมืองแพร่ดังนี้ “ตำนานวัดหลวงเมืองทาน เดิมเมืองเชียงแสนแตกครั้งที่ 3 จุลศักราชได้ 1149 ปีเมืองเม็ด พุทธสาสนาล่วงแล้ว 2330 พระวัสสามีครูบานาย สบจัน 1 ครูบากวาว 2 ครูบาสุธะ 3 ครูบา 3 ตนนี้พ่ายแต่เชียงแสนลงมา....” ตั้งแต่ชาวบ้านสบจันถูกกวาดต้อนลงไปไว้ยังเมืองแพร่วัดจึงร้างลงจนถึงปัจจุบันนี้
จับต้องได้ : Tangible.
โบราณสถาน : AS : Archeological Site โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
ย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
.
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :