PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม :

ต้นสัก

ต้นสักมีความเกี่ยวข้องกับเมืองเชียงแสนนับตั้งแต่พระญาแสนพูได้มาสรา้งเมืองเชียงแสนตามตำนานพื้นเมืองเชียงแสนกล่าวว่า “ถัดนั้นมาสักกราชได้ 657 ตัว ปีดับเม็ด ยังมีมหาเถรเจ้าตนหนึ่งเอาธาตุกระดูกตาตีนกล้ำขวาแห่งพระพุทธเจ้าใหญ่เท่าเม็ดถั่วคว้าง เอามาแต่เขตปาตริบุตต์เอามาสู่พระญาเจ้าราชแสนพูแล้วท่านก็พร้อมกับด้วยมหาเถรเจ้าแล ก็เอาไปสร้างมหาเจติยะประจุไว้พายนอกประตูเชียงแสนด้านเวียงแห่งตนพายวันตกทัดวัดพระหลวงพายนอกที่นั่นแล้วก็สร้างหื้อเปนอารามกว้าง 50 วา แล้วเอาไม้สักมาปลูกแวดกำแพง 300 ต้นแล้วเรียกว่าอารามป่าสักว่าอั้นแล” ข้อความในตำนานการสรา้งวัดป่าสักและการปลูกต้นสักไว้แสดงอาณาเขตของวัด แสดงถึงภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของวัดและเมืองเชียงแสน ดังนั้นเมืองเชียงแสนนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันต้นสักจึงถือเป็นไม้หมายเมือง เป็นสัญญลักษณ์ของเมืองเชียงแสน นอกจากนั้นไม้สักยังเป็นไม้ที่สำคัญทางเศรษฐกิจของล้านนา เป็นไม้ที่ทรงคุณค่าและสามารถแปรรูปได้ในหลากหลายอย่าง ทั้งการสร้างวัด บ้าน และงานพุทธศิลป์ต่างๆได้อย่างงดงามและคงทน



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. อ. จ. เชียงราย

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

นายบุญส่ง เชื้อเจ็ดตน

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :369 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 28/04/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 28/04/2023