กลองอืด เป็นกลองชนิดหนึ่งของภาคเหนือแถบล้านนาตะวันออก (แพร่-น่าน) มีขนาดยาว ใหญ่ พบ ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บหรือแห่ขบวนต่างๆ ในการนมัสการพระธาตุ หรือประเพณ๊สำคัญของวัด เช่น ฉลองวิหาร สมโภชน์ งานบุญต่างๆ เครื่องประกอบจังหวะมี ฆ้องใหญ่ และฆ้องกลาง ฆ้องเล็ก ฉาบใหญ่ 1 คู่ และ "ผ่าง” หรือ "พาน” (ฆ้องไม่มีปุ่ม) และกลองอืดนี้ บางทีก็ถือว่าแบบเดียวกับกลองแอว เป็นชื่อเรียกตามรูปลักษณ์ที่พบเห็น คือมีลักษณะคอดกิ่วตรงกลางคล้ายสะเอว ซึ่งภาษาล้านนาเรียก "แอว” จึงได้ชื่อว่า "กลองแอว” เป็นกลองที่มีลักษณะขึงด้วยหนังข้างเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ และไม้แดง เป็นต้น กลองแอวมีชื่อเรียกขานต่างกันไป บางแห่งอาจเรียกตามรูปลักษณ์ที่พบเห็น เรียกตามเสียงที่หูได้ยินหรือเรียกตามตำนานเล่าขานสืบกันมา ฟ้อนกลองอืด จริงๆก็คือ ฟ้อนเมือง หรือ ฟ้อนเล็บ หรือเรียกกันว่าฟ้อนแห่ครัวตาน ฟ้อนเมืองบ้าง แต่ทั้ง 3 ชื่อนี้เป็นการ ฟ้อนชนิดเดียวกัน แต่ทางแพร่-น่าน จะเรียกฟ้อนกลองอืด ท่าทาง และ เพลงประกอบ ก็จะเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนฟ้อนเล็บเชียงใหม่ ประกอบด้วยท่าสำคัญในการฟ้อนได้แก่ 1.เสือลากหาง 2.บังสุริยา 3.ม้วนจีบสะบัดไหว้ 4.บิดบัวบาน 5.กังหันร่อน 6.พายเรือ(ล่าง) 7.สอดสร้อยมาลา 8.ผาลาเพียงไหล่ บางทีเรียกว่า การฟ้อนครัวทาน คือ การฟ้อนนำขบวนแห่ของชาวบ้าน ซึ่งประกอบด้วยเครื่องถวายทาน ถ้าหมู่บ้านใดบูรณะวัดเรียบร้อยแล้ว ก็นิยมบอกบุญไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ก็ให้มาช่วยทำบุญฉลอง เช่น ฉลองโบสถ์ วิหาร เป็นต้น จึงเรียกว่าฟ้อนครัวทาน หรือฟ้อนเมือง ส่วนท่าทางการฟ้อนรวมถึงเพลงที่ใช้ประกอบ ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts นาฏศิลป์และการละคร
.
เลขที่ : วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง หมู่ 11 ต. ช่อแฮ อ. เมืองแพร่ จ. แพร่ 54000
แม่ครูลำดวน สุวรรรณภูคำ ครูภูมิปัญาไทย รุ่น 9 สภาการศึกษาแห่งชาติ
0971544883
doungporn.bee : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ :