ค่าว จ๊อย ซอ เป็นศิลปะการขับร้องทำนองพื้นบ้านล้านนา เกิดจากการคิดค้นของผู้คนในอดีตที่หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือในภาษาถิ่นตรงกับคำว่า “ภูมิผญ๋า” ภูมิปัญญาเป็นเรื่องที่สั่งสมมาแต่อดีต ประเพณี วิถีชีวิต เป็นความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ มักแสดงออกเป็นคำพูดโต้ตอบกันเช่น การแอ่วสาว การถ้องซอ(การโต้ตอบกันระหว่างช่างซอชาย หญิง) คร่าว จ๊อย หรือเป็นคำสอนที่ปฏิบัติตามกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ค่าว จ๊อย ซอ จัดเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านล้านนา เป็นที่นิยมแพร่หลายในเขตจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยที่ใช้ภาษาล้านนาเป็นภาษาประจำถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้านแบ่งประเภทตามลักษณะการถ่ายทอดหรือการสื่อสารต่อกัน ขับร้องเป้นท่วงท่าทำนองต่าง ๆ เพลง ฮ่ำ จ๊อยและซอ ภาษา สำนวน คำพังเพย หรือคำคมต่าง ๆ ปริศนาคำทาย คำเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว หรือกำอู้บ่าวสาว เป็นต้น ในอดีตมักจะบันทึกด้วย อักษรธรรม และตัวอักษรฝักขาม มีเนื้อหาและรูปแบบของคำประพันธ์ที่หลากหลาย เช่นวรรณกรรมร้อยแก้วและวรรณกรรมร้อยกรอง คือ โคลง ร่าย และค่าว หรือค่าวซอเป็นต้น ปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
ศิลปะการแสดง : PA : Performing Arts ดนตรี
.
เลขที่ : วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง หมู่ 11 ต. ช่อแฮ อ. เมืองแพร่ จ. แพร่ 54000
แม่ครูลำดวน สุวรรรณภูคำ ครูภูมิปัญาไทย รุ่น 9 สภาการศึกษาแห่งชาติ
0971544883
doungporn.bee : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ :