PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : AA-36140-00001

พระใหญ่ทวารวดี เมืองแควกาหลง อ.คอนสวรรค์
Big Buddha Dvaravati Mueang Kwai Kalong, Khon Sawan District

โดยปรกติแล้วลักษณะพระพุทธรูปสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียคือ ศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะ ศิลปะหลังคุปตะ และศิลปะปาละ ที่ มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ศิลปะคุปตะ เช่น การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบไม่มีริ้ว การ ยืนเอียงตนแบบตริภังค์ คือ การยืนเอียงตน ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ พระอังสา (ไหล่) พระโสณี (สะโพก) และพระชงฆ์ (ขา) ต่อมาได้พัฒนารูปแบบให้เป็นแบบพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น พระพักตร์กลมแป้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนาแบะ พระพุทธรูปประทับยืนตรง ไม่ทำตริภังค์ และนิยมแสดงปางวิตรรกะ (ทรงแสดงธรรม) ทั้ง 2 พระหัตถ์ อันเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดีโดยเฉพาะ นอกจากนั้น ยังได้พบพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ที่นิยมขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ (พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย เห็นฝ่าพระบาทเพียงด้านเดียว) อันมีที่มาจากอิทธิพลของศิลปะอมราวดี ต่อมามีอิทธิพลของศิลปะปาละเข้ามา เช่น การทำพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร (การนั่งขัดสมาธิที่เห็นฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง) ในช่วงสุดท้ายของศิลปะทวารวดีมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปะปนอยู่ด้วย ก่อนที่ศิลปะทวารวดีจะค่อยๆ เสื่อมไป และมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาแทนที่



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องได้ : Tangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

โบราณวัตถุ : AA : Archeological Artefact .

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : บ้านคอนสวรรค์ ต. คอนสวรรค์ อ. คอนสวรรค์ จ. ชัยภูมิ 36140

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

ดร.ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

ดร.ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี โทร.089-4219486 E-mail : Sutamdee_22@hotmail.com

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นราศักดิ์ ภูผายาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
Link ที่เกี่ยวข้อง
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :208 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 09/05/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 09/05/2023