ลักษณะทั่วไปของบ้านกะเหรี่ยง ชั้นแรกเรียกว่า “บึ๊งลังคุ” เป็นพื้นที่โล่งไม่มีหลังคา เอาไว้นอนดูดาวในตอนกลางคืน และเอาไว้ตากข้าวในตอนกลางวัน เพื่อกันสัตว์เข้าไปรบกวน คำว่า “บึ๊งลังคุ” หมายถึงชานที่ไม่มีหลังคา หรือ เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าลานตากข้าว ถัดจาก “บึ๊งลังคุ” จะมีการยกพื้นขึ้นเล็กน้อย เป็นส่วนพื้นที่ครัวสำหรับหุงหาอาหาร เรียกว่า “เพ่งค้าลัง” มีพื้นที่ยกระดับเป็นลานอีกส่วนหนึ่ง เรียกว่า “ชิเชิง” มีส่วนนอน เรียกว่า “เดาเผิ่ง” ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับคนในบ้านเท่านั้น คนอื่นไม่สามารถเข้าไปได้ ถ้าเข้าไปจะถือว่าผิดผี ต้องเสียเงินเสียทอง อีกพื้นที่หนึ่งที่ยกขึ้นมาให้สูงกว่า “ชิเชิง” จะใช้สำหรับรับแขก และใช้สำหรับการทำงานทอผ้า จักสานของคนในบ้าน โดยคติการรับแขกของคนกะเหรี่ยง จะกำหนดให้แขกอยู่สูงกว่าเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านจะนั่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ส่วนบันไดบ้านของคนกะเหรี่ยง จะต้องกำหนดให้เป็น เลขคี่ และ วางแม่บันไดสองข้างให้มีระดับไม่เท่ากัน
จับต้องได้ : Tangible.
สถาปัตยกรรม : AR : ARchitecture แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
พิพิธภัณฑ์
.
เลขที่ : หมู่ 1 ต. บ้านบึง อ. บ้านคา จ. ราชบุรี 70180
นายประเสริฐ สุขแสนไกรศร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี :