PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : KP-70180-00025

ผารากกึ้ง หรือ ผาลักกึ้ง

ผานกเงือก หรือ ผารากกึ้ง หรือ ผาลักกึ้ง (ลักกึ้ง เป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่ง ในตระกูลข่า ขึ้นตามที่ชื้น ร่องห้วย ใบมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายใบไผ่ คนกะเหรี่ยงมักใช้ห่อข้าวเวลาเดินป่า) เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 850 เมตร เป็นจุดที่สามารถมองเห็นแนวการบินของนกเงือกได้ชัดเจนที่สุด โดยฝูงนกเงือกจะบินมารวมตัวกันที่บางกะม่าเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือน กรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลไม้ในป่ารอบบางกะม่าสุก นกเงือกจึงบินอพยพมาเพื่อหาอาหาร และหาคู่ (นกเงือกจะพร้อมผสมพันธุ์ในช่วงอายุราว 1 ปี) เคยมีการสำรวจประชากรนกเงือกในพื้นที่ป่าแห่งนี้ได้ราว 280 ตัว โดยนกเงือกที่พบเห็นได้มากคือ นกเงือกกรามช้าง การเดินทางเข้าสู่ผานกเงือก ต้องเดินเท้าเข้าเขตอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จากบริเวณลานสเตย์ช้อนเงิน ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 2 ชั่วโมง ระยะทางประมาณ3 กิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นเขาสูงชัน ตลอดเส้นทางจะพบเรื่องราวพันธุ์ไม้ที่ผูกพันกับวิถีการใช้ชีวิตของชาวกะเหรี่ยง ทั้งการนำมาใช้สอย เช่น ไผ่ หวายเขียว หวายขม หวายยักษ์ ต้นคล้า (ใช้ห่ออาหาร และทำจักสานได้) การนำมารับประทาน เช่น เต่าร้าง ใบส้มกุ้ง (ทำแกงปลา) สมุนไพร อุ้มลูกดูหนัง โปร่งฟ้า หนอนตายหยาก เส้นทางสัตว์ และความรู้ในการย้อนรอยพฤติกรรมสัตว์เพื่อวางกับดัก หรือเลี่ยงเส้นทาง แหล่งกินอาหารของสัตว์ เช่น โป่ง ลำน้ำ และ เรื่องราวของเส้นทางเหมืองแร่ (จากเหมืองกระดังลา หาแร่ที่ใช้ทำกระจก) การลากซุง รวมถึงการเดินทางสู่พื้นที่กะเหรี่ยงอื่นๆในป่าลึก



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล : KP : Knowledge and Practices concerning nature and the การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. บ้านบึง อ. บ้านคา จ. ราชบุรี 70180

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

นายประเสริฐ สุขแสนไกรศร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี :

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-
พิกัด GPS

มีผู้เข้าชมจำนวน :153 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 22/05/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 22/05/2023