ศาลาอเนกประสงค์บ้านหัวไม้ไผ่ อยู่ห่างจากทะเลสาบประมาณ 800 เมตร หรือเดิมเรียก “ศาลาหน้าไม้สามพันธุ์” หรือ “ศาลาหน้าไม้สัมพันธ์” จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน กล่าว่า ชื่อดังกล่าวอาจมาวัสดุที่ก่อสร้างศาลาซึ่งประกอบไปด้วยไม้ 3 สายพันธุ์ คือ ไม้จากต้นจามจุรี ต้นหมากเม่า ต้นตาลโตนด เดิมเป็นพื้นที่หลบฝนของคนเดินทางทางทะเล ซึ่งเชื่อกันว่าที่ศาลาแห่งนี้ มีเจ้าแม่อาศัยอยู่ คือ เจ้าแม่เล็บแดง หากผู้ใดที่จอดเรือเพื่อพักที่ศาลานี้ โดยไม่ได้ทำการไหว้ขอ ก็จะเกิดเหตุไม่ดี เดิมชาวบ้านบริเวณนี้นิยมประกอบอาชีพทำนา การประมงพื้นบ้าน และการทำน้ำตาลแว่นจากตาลโตนด โดยปัจจุบันยังคงเหลือการสืบทอดการทำน้ำตาลแว่น แต่ใช้วิธีการซื้อขายน้ำตาลโตนดมาแปรรูป และมีการผสมน้ำตาลทรายแดงและแบะแซเพิ่มเติม เพื่อขายในจังหวัดสงขลาและส่งออกให้กับชาวมาเลเซียนำไปเป็นส่วนผสมของช็อกโกแลต ปัจจุบันมีการส่งเสริมกิจกรรมให้คนในหมู่บ้าน เช่น การปลูกผักแบบยกแคร่ การเพาะเห็ดในตุ้อัตโนมัติ การออกกำลังกายโดยการเต้นบาสโลบ รวมถึงมีการวางแผนพัฒนาชุมชนอีกมากที่จะทำในอนาคต เช่น ตลาดนัดชุมชน ผักปลอดภัยไม้ไผ่โมเดล ตลาดนัดสุขภาพ กองทุนขยะบุญ และเตาเผาขยะชุมชนแบบปลอดมลพิษ และมีการรื้อฟื้นประเพณีเรือพระทางน้ำในช่วงออกพรรษา และประเพณีสงเภา หรือ ลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ที่เชื่อกันว่าเป็นการลอยสิ่งไม่ดีไปกับน้ำ ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจาคโรคภัยไข้เจ็บ
จับต้องได้ : Tangible.
พื้นที่วัฒนธรรม : CS : Cultural Space พื้นที่วัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ
.
เลขที่ : บ้านพร้าว ต. ทำนบ อ. สิงหนคร จ. สงขลา 90280
นายสนั่น อินทสระ
09 1980 9763
งามเพชร อัมพรวัฒนพงศ์ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ :