ประวัติการสร้างพระอินทร์สาน วัดมงคลธรรมกายาราม พระพุทธทสะปรมัตถ์ ๑๑ พระสานด้วยหวายที่ใหญ่ที่สุดในโลก สล่าอง (สล่า เป็นคำเหนือ แปลว่า “ช่าง”) เป็นคนปั้นพระ ทั้งพระพุทธรูปปูน หล่อทองเหลือง มีดำริที่จะสร้างพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตของตน เพื่อเป็นประวัติศาสตร์ โดยการนำเหล็กปล้องอ้อย 24 หุน มาทำเป็นโครง(องค์พระ) และได้ทำการ “สานแผ่นหวาย พระพุทธรูปองค์นี้ มีหน้าตัก 7 เมตร สร้างด้วย “แรงศรัทธา” เนื่องจากสล่าอง ไม่มีปัจจัยในการที่จะลงทุนสร้าง ปัจจัยในการสร้าง เกิดจากแรงศรัทธาของญาติโยมช่วยกัน บริจาคคนละเล็กละน้อย และเกิดจากคิวรถตู้แม่สาย เมื่อมีแขกมาเที่ยว ได้นำแขกเหล่านั้นมาชมการสานพระ จึงได้รับแรงศรัทธาจากจุดนี้ด้วย พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างจากหวาย ใช้เวลาในการสร้าง 1 ปี 9 เดือน 14 วัน โดยมีผู้มาขอรับบริจาคองค์พระนี้หลายราย แต่ในที่สุด... สล่าอง ได้ตัดสินใจมอบองค์พระนี้ ให้แก่ “วัดมงคลธรรมกายาราม” โดยมีเงื่อนไข 1.ขอให้ทางวัดสร้างศาลาประดิษฐานองค์พระ ให้เป็นวิหารสไตล์ไทยลื้อ 2. ขอให้ทางวัด ในวันที่จะนำองค์พระออกจากบ้านสล่าอง (บ้านไม้ลุงขน) ขอให้นำเฮลิคอปเตอร์ มายกองค์พระออกจากบ้านไป (ภายหลังเนื่องจาก ฮ.ชีนุก ที่จะมายกองค์พระ มาดูพื้นที่ ไม่สามารถที่จะนำ ฮ.มาให้บริการได้ เนื่องจาก เมื่อ ฮ.โรยตัวลงมา แรงลมของใบพัด จะทำให้หลังคาบ้านญาติโยมปลิว เพราะแรงลม จึงทำได้เพียง นำ ฮ.มาบินวนรอบบริเวณบ้าน แล้วทำการโปรยดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง จำนวนมากลงมาจาก ฮ.) ในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗ เป็นวันที่เคลื่อนองค์พระจากบ้านสล่าลง เพื่อ นำมาประดิษฐาน ณ กลางหมู่บ้านปิยะพร เพื่อทำการสมโภช วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๗ ได้ทำการเคลื่อนย้ายองค์พระ จากหน้าที่ทำการเทศบาลตำบลแม่สาย เดินทางสู่วัดมงคลธรรมกายารา ด้วยระยะทาง 12 กม. โดยเริ่มต้นในเวลา 07.00 น. ชักลากองค์พระมาตามถนนพหลโยธิน ด้วยความยากลำบาก เนื่องจากเป็นการ “ชักพระ แบบโบราณ” คือ ใช้คนชัก ด้วยเชือกป่านมนิลา หนา 2 นิ้ว จำนวน 4 เส้น หน้าหลัง เส้นละ 100 เมตร โดยใช้คนเป็นผู้ชักลาก องค์พระได้ถึงบริเวณวิหารวัดมงคลธรรมฯ ในเวลา 19.30 น. และได้ทำการเคลื่อนองค์พระ โดยช่างผู้ชำนาญการ เริ่มเวลา 20.30 น. นำองค์พระขึ้นประดิษฐานได้สำเร็จบนแท่นพระ ในเวลา 04.15 น. ของวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗ ทางวัดฯ ได้ทำการสร้างวิหารพระสาน ขนาดความกว้าง 18 เมตร ความยาว 44 เมตร ตามสไตล์ไทยลื้อล้านนา และมีการพัฒนาวิหารหลังนี้มาโดยตลอด จนมีความสวยงาม เป็นที่ชื่นตา ชื่นใจของผู้ได้พบเห็น องค์พระ มีมูลค่า 2,500,000 บาท วิหาร มีมูลค่า รวมทั้งสิ้น 27,000,000 บาท
จับต้องได้ : Tangible.
งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship เครื่องจักสาร
เครื่องรัก
งานศิลปกรรมพื้นบ้าน
ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
.
เลขที่ : บ้านถ้ำ ต. โป่งงาม อ. แม่สาย จ. เชียงราย 57130
นางสุพรรณี เตชะตน
0835688657
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2566 Open Call