ตำนานการสรา้งเมืองโยนก(เวียงหนองหล่ม) ..วันนั้นยังมีพระยานาคตัวหนึ่งชื่อว่าพันธุนาคราชนั้น ก็เนรมิตตนเป็นพราหมณ์ผู้หนึ่ง แล้วก็เข้ามาสู่ที่อยู่เจ้าสิงหนวติกุมารแล้วก็กล่าว เชิง สิงหนวติกุมารว่า ดูกรเจ้ากุมาร ท่านนี้เป็นลูกท่านพระยามหากษัตริย์ หรือว่าเป็นเศรษฐีและ คหบดีกฎุมพีพ่อค้าอันชา ลูกบ้านใดเมืองใด มาชา เจ้ากุมารมาประโยชน์อันใดชาว่างั้น เจ้าสิงหนวติกุมารกล่าวว่า พราหมณ์ดูกรท่าน พราหมณ์เรานี้ก็เป็นลูกมหากษัตริย์ ตนชื่อว่าเทวกาล อันเป็นเจ้าเมืองราชคฤห์หลวงโพ้นแล เรานี้มาเพื่อจัดแสวงหาที่สร้างแปลงเมืองอยู่แดว่าอั้น ... เมื่อนั้นนาคพราหมณ์ผู้นั้นกล่าวว่า ดีแท้แล ท่านจึงตั้งอยู่สถานที่นี้ให้เป็นบ้านเป็นเมืองอยู่ทือจักวุฒิจําเริญดีบรมวนด้วยเข้าของสมบัติสะแด ประการหนึ่งเล่าช้ำเศิกทั้งหลาย เป็นต้นว่า มหานครเมืองใหญ่ทั้งหลายจักมารบก็เป็นอันยาก เหตุนั้นน้ำแม่ใหญ่ทั้งหลายสะเภา โลกาก็บ่รอดและว่างั้นแล้ว แต่ว่าให้มีศักดิ์มีใจรักยังคนแลสัตว์ทั้งหลายเทอะว่าอั้น ....เมื่อนั้นเจ้าสิงหนวติกุมาร จึงกล่าวว่า ดูกรท่านพราหมณ์ ท่านนี้อยู่ ฐานะที่ใดอยู่บ้านใดเมืองใด ท่านมีชื่อลือชาประการใด นาคพราหมณ์กล่าวว่า ข้านี้มีชื่อว่า พันธุพราหมณ์ อยู่รักษาประเทศที่นี้แต่เช่นเค้ามาแล ท่านจึงใช้สัปปุริสบ่าวเพื่อไปทวยดูที่อยู่แห่งข้าเทอะ ว่าอั้นแล้วก็ลาจากหนีไปแด ...สิงหนวติกุมารก็ใช้บ่าวเพื่อนไปดูด้วย เจ็ดคนแล ครั้นว่าทวยไปหนหรดีไกลประมาณพันวาแล้ว ก็ลวดกลับหายไปเสียแล เมื่อนั้น คนใช้หันเป็นสันนั้นแล้ว เขาก็กลับคืนมาบอก แก่เจ้าแห่งเขาตามดังเขาหันนั้น อันแด เมื่อนั้นสิงหนวติกุมาร ได้ยินคำอันนั้นแล้วก็สะดุ้งใจอยู่แล ... ส่วนนาคพราหมณ์ผู้นั้นก็เอาเพศเป็นพระยา นาคแล้ว ก็เที่ยวบุ่น ไปหื้อเป็นเขตต์หื้อเปนเวียง กว้างสามพันวารอดแล้วก็หนีไปสู่ที่แห่งตนแล ... ครั้นว่าคืนนั้นรุ่งแจ้งแล้วสิงหนวติกุมาร ท่านก็หันเป็นประการสันนั้น ก็มีใจชมชื่นยินดี แล้ว ก็ให้หาพราหมณ์อาจารย์มา แล้วก็ถามพราหมณ์อาจารย์ว่า พราหมณ์ผู้มาบอกให้เรา จะเป็นเทวบุตร เทวดาหรืออินทร์พรหมอั้นชาว่าอั้น เมื่อนั้นพราหมณ์อาจารย์จึงกล่าวว่าตามดังข้าผู้เฒ่ามาพิจารณาดูนี้ จะเป็นพระยานาค สะแดงว่าอั้น เมื่อนั้นก็พร้อมกันเข้าแต่งเรือนหลวง แปลงหอเรือนแล้วบรมวนก็เข้าอยู่เป็นเมืองอันใหญ่แล้ว .... พราหมณ์อาจารย์ผู้นั้นก็พิจารณาเอาชื่อ พระยานากว่าพันธุ์นั้นกับชื่อกุมารผู้เจ้านั้น ชื่อว่าสิงหนวติกุมาร สมด้วยกันแล้วก็เรียกว่าเมืองนาคพันธุสิงหนวตินคร นั้นแล .....เจ้าสิงหนวติกุมาร ได้เป็นเจ้าเมืองนาคพันธุ สิงหนวตินครที่นั้นแล้ว ท่านก็มีอาญาใช้ไปเรียกร้องเอาขุนหลวงมิลักขุทั้งหลายให้เขามาสู่ สมภารแห่งตนเสี้ยงแล .... แต่นั้นไปข้างหน้าได้ 6 ปี ยังมีเมืองอันหนึ่งอยู่หนหรดี ไกลประมาณ 4 คืนทาง มีข้างหัวน้ำกุกกุฏนที ที่นั้นมีชื่อว่า เมืองอุโมงค์เสลานคร ว่าอั้น เมืองอันนั้นเป็นที่อยู่แห่งชาวขอมทั้งหลายแล ...ส่วนว่าเวียงขอมก็เป็นเมืองพร้อมกันกับเมืองสุวรรณโคมคำ แต่เช่นศาสนาพระเจ้ากัสสปะ มาต่อเท่าบัดนี้ บ่หล่าง แลเหตุนั้นพระยาขอม คนเป็นเจ้าเมืองอุโมงคเสลานครนั้น จึงมีมานะ กระด้างแข็งเข้าสู่สมภารเจ้าเมืองนาคพันธุ สิงหนวตินครเพื่ออั้นแล .....เมื่อนั้นเจ้าสิงหนวติกุมาร ท่านก็ยกเอาพล กําลังไปชะนะเอาพระยาขอม แลเมืองอุโมงค์เสลานครได้เข้ามาสู่สมภาร แต่นั่นแล .....มหาศักราชได้ 22 ตัว ดับไส้ตั้งแล้วได้ ๕ ปี ท่านก็ได้ปราบลานนาไทยทั้งมวลแล้ว ตำนานสิงหนวติกุมาร รอยเลื่อนแม่จันกับตำนานเมืองหนองหล่ม .... เดือน ๗ แรม ๑ ค่ำ วันเสาร์ ครั้งนั้น คนทั้งหลายก็ไปเที่ยวยังแม่น้ำกุกกุฏนที(แม่น้ำกก) ได้เห็น ยังปลาเหยี่ยน(ในเล่มนี้เขียนปลาตะเพียน)เผือกตัวหนึ่งใหญ่เท่าต้นตาล ยาวประมาณ ๓ วา แล้วเขาก็พากันไปทบปลาตัวนั้นตาย แล้วก็พากันลากมาถวายมหากษัตริย์เจ้า .......พระองค์ก็มีอาชญาให้ตัดเป็นท่อนแจกกัน กันกินทั่วทั้งเวียงนั้นแล ...ครั้นว่าบริโภคกันเสร็จแล้วดังนั้น สุริยะ อาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดั่งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหวประดุจดังว่าเวียงโยนกนครหลวงที่รู้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ดังมา เป็นคำรบสองแล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ดังมาเป็นคํารบสาม คนที่สามนี้ดังยิ่งกว่า ทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนก นครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่ ...ยามนั้นคนทั้งหลายอันมีในเวียงนั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน วินาสฉิบหายตกไปในน้ำที่นั้นสิ้น ยังเหลืออยู่แต่เรือนยายแม่หม้ายเฒ่าหลังเดียวเท่านั้นแล.... ตำนานสิงหนวติกุมาร บันทึกการเดินทางมาเมืองหนอง(หล่ม)ในอดีต "รอดเดือน 7 ออก 11 ค่ำ วัน 3 ไทเต่ายี เราก็ได้พาเอาพินทาสามเณรกับอ้ายมุร ก็พิกเมือไหว้มหาธาตุเจ้าดอยกู่แก้ว อันตั้งอยู่วันตกแจ่งเหนือเวียงโยนกนครเชียงแสนเก่า คือว่า เมืองหนอง อยู่วันตกแจ่งใต้เวียงเชียงแสนที่นั้น เดือน 7 ออก 13 ค่ำ วัน 5 ยามแตร ไปรอดมหาธาตุเจ้าดอยกู่แก้วแล้วได้นมัสการไหว้สาแล้วก็ได้เวนทานบุปผา ลาชา ข้าวตอกดอกไม้ ลำเทียน น้ำอบ น้ำหอม คำปิว ช่อฉัตร ผ้าแว้ง สมณปริกขาร เวนทานแล้วก็ติดคำ สระสรง บรมวลแล้ว ก็เทะตีนธรณีมหาธาตุเจ้ามี 5 วา แล้วมีลำเหล็กแวดชั้นหนึ่ง แล้วเสาลำเหล็กนั้นปลายเป็นปราสาทแล ซ้ำมีกำแพงล้อมแถมชั้น 1 เป็นกำแพง2 ชั้นแล เสากำแพงล้อมนั้น เป็นรูปเทวบุตรติดด้านคู่เสาแล ไหว้สาบรมวลแล ก็พิกมานอนท่งเมืองหนอง ยามซ้าย แล้วก็มารอดเชียงราย เดือนเพ็ง ยามช้ายแล".... บันทึกการเดินทางไปไหว้พระบาท พระธาตุและพระพทธรูปของพระคันธาวง เมืองพะเยา พ.ศ.2410-2428 ....."บริเวณเทศบาลจันจว้า(ใหญ่ที่สุดในประเทศ เพราะมี พื้นที่24หมู่บ้าน คาบเกี่ยวอ.แม่สาย เชียงแสน แม่จันติดกับชาย ขอบดอยหลวง หนองหล่มใจกลางต.โยนก(เชียงแสน) จันจ ว้า(แม่จัน ท่าข้าวเปลือกแม่ลากแม่ลัว(ติดดอยหลวง)ตามชาย ขอบหนองหล่มจันจว้า มีหนองเล็กใหญ่รวม18หนองคือบ้านห้วยน้ำราก (ป่าหมากหน่อ)หน่อหมากชนิดหนึ่งที่ช้างชอบกิน ไม่ใช่ หมากสงที่กินกับหมาก อีกอย่างคืออ้อยช้าง(กิ่วพร้าวมี2-3ต้นสูง เท่าต้นมะพร้าว) บ้านดง หนองร่อง ต้นยาง ป่าสักหลวง กิ่วพร้าว หนองบึง หนองครก ป่าถ่อนเมืองหนอง เป็นทั้งที่หาปลาและสระบัว ภูมิประเทศราบลุ่มและลาดชัน โบราณเล่าว่า เมืองน้ำหนอง ฝหล่มออกฝั่ง(น้ำท่วม) น้ำจะทะลักเข้าหนองเก็บกักและเข้าคูเมือง คูเวียงกิ่วพร้าวและป่าสักหลวง (ท่าข้าวเปลือกก็มีหนองและคูเมืองต่าง)หากตามลำดับจนถึงหนองสุดท้ายคือหนองปึ๋ง หนองไคร้ หนองครก(ป่าไม้นามบ้านหนองน้ำนามเมือง) มีพรานจับปลาและ ล่านกมากมาย กิ่วพร้าว ก.ค.-ส.ค.มีพรานปลาเสียชีวิต(หมดอายุขัย)2ท่าน จึงเอาเรือและอุปกรณ์หาปลามาฝากพิพิธภัณฑ์ หนองเขียวเป็นหนองประจำหมู่บ้านกิ่วพร้าวและป่าสักหลวงกว้าง รองจากหนองหล่มที่มีเนื้อที่ 4,000ตร.กม. เดิมมีต้นกั้นชุกชน เป็น แหล่งดูนกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีพันธุ์ปลามากที่สุด มีนักล่า ปลาสืบตระกูลมาหลายรุ่น..." พระครูประสิทธิ์บุญญาคม วัดกิ่วพร้าว
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature นิทานพื้นบ้าน
ตำนานพื้นบ้าน
.
เลขที่ : เวียงหนองหล่ม ต. จันจว้า อ. แม่จัน จ. เชียงราย 57270
พระครูประสิทธิ์บุญญาคม วัดกิ่วพร้าว
วัดกิ่วพร้าว ต.จันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย
ผศ.ดร.พลวัฒ ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : 2566 Open Call