อีกหนึ่งในทุนวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนจอมทอง ที่พบในตำบลข่วงเปา ได้แก่ การทำเทียนบูชา โดยผู้ทำเทียนจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาก่อน เพราะการจุดเทียนบูชา โมีความเชื่อว่า เทียนนีจะช่วยให้ผู้จุด มีชีวิตที่ยืนยาว มีโชคดี โชคลาภ ลดเคราะห์ร้าย หายจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยผู้จุดต้องมีความเชื่อ และ ศรัทธาเป็นทุนเดิม วัสดุอุปกรณ์หลักสำคัญประกอบด้วย 1. ขี้ผึ้ง 2.กระดาษสา 3.ฝ้าย(ไส้เทียน) 3.ไม้(แกนกลาง) โดยสามารถหาซื้อได้ตามท้องถิ่นทั่วไป ผู้ทำเทียนจะเป็นผู้จัดหาเอง ในช่วงเวลาเตรียมของก่อนผลิต เทียนบูชาแบ่งประเภทหลักได้ 3 ชนิด 1. เทียนลดเคราะห์ 2.เทียนสืบชะตา 3. เทียนรับโชค โดยแต่ละชนิดจะมีขั้นตอนที่เหมือนกัน แต่ผ้ายันต์จะมีการลงอักขระที่ไม่เหมือนกัน มักทำกันในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ถ้าไม่มีเทศกาล แต่ละหมู่บ้านสามารถกำหนดกำลังการผลิตได้ตามความเหมาะสมมีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่น ด้วยกระบวนการผลิตและแบบแผนที่ดี ถือว่าเทียนบูชานี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลานนาที่เชื่อกันมายาวนาน อันเกิดจากค่านิยมที่ผู้คนศรัทธาและมีความเชื่อของสังคมและวัฒนธรรมชุมชน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันของอักขระในผ้านยันต์ตามตำราของแต่ละพื้นที่มีพื้นที่กำเนิดชัดเจน และเป็นกลุ่มชุมชน โดยในตำบลข่วงเปานั้น จะมีการทำพิธีบูชา ปลุกเสกเทียน โดยพระสงฆ์สวดบูชาเป็นเวลา 7 คืน เพื่อเสริมความเป็นศิริมงคลต่อผู้จุด
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล : SP : Social Practices, ritual and festive events ขนบธรรมเนียบประเพณีเกี่ยวกับวงจรชีวิต
.
เลขที่ : ตำบลข่วงเปา ต. ข่วงเปา อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160
พระครูวิมลจันทรังษี
087-1923966
สุพัฒนวรี ทิพย์เจริญ : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น : 2566 Open Call