ซอพื้นเมืองล้านนา หรือที่ชาวพื้นเมืองล้านนาเรียกว่า ซอ (มักเรียกประกอบกันเป็น สะล้อ ซอ ซึง) เป็นรูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลายทุกข์ โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ การขับซอในปัจจุบัน จะมีลีลาและรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การซอมีทั้งขับร้องเดี่ยวและคู่ ซึ่งเรียกว่า "คู่ถ้อง" สลับด้วยดนตรี คือ ปี่ชุม 3 ปี่ชุม 4 หรือปี่ชุม 5 (ภาษาพื้นเมืองจะออกเสียงว่า ปี่จุม) ที่นิยมกันมาแต่โบราณ ทำนองซอมีอยู่หลายทำนอง ซึ่งจะเรียกว่า "ทางซอ" เพราะมีการเพี้ยนหรือหลีกกันเพียงเล็กน้อย โดยในพื้นที่ตำบลแม่สอย ได้มีภูมิปัญญาด้านการขับซอพื้นเมืองล้านนา นำโดย จักกฤษณ์ จอมทอง และวิมล แม่สอย ช่างซอในพื้นที่เป็นพ่อครูแม่ครูคนรุ่นใหม่ ที่มีใจรักเพลงซอ และตั้งกลุ่มสอนเยาวชนในแม่สอยสามารถขับร้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาอย่างมีประโยชน์สร้างรายได้ รวมถึงเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์ให้ซอพื้นเมือล้านนาคงอยู่สืบไป
จับต้องไม่ได้ : InTangible.
วรรณกรรมพื้นบ้าน : FL : Folk Literature บทร้องพื้นบ้าน
.
เลขที่ : 191 หมู่ 3 ต. แม่สอย อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50240
นายจักกฤษณ์ กรัญญา
083-8626457
สุพัฒนวรี ทิพย์เจริญ : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น : 2566 Open Call