PMU ทุนทางวัฒนธรรม


ข้อมูลวัฒนธรรม : TC-80230-00015 [ ได้รับทุนจากโครงการ ]

ถาวร รัตนบุญทอง
Thawon Ratthanabuntong

เชือกลากพระจากหวายแดงในประเพณีลากพระทางน้ำ ไม้หวาย ต้นหวาย เป็นชื่อพืชในวงศ์หมากและหวาย หรือวงศ์ Palmae (วงศ์ปาล์ม) วงศ์ย่อย Calamoideae (วงศ์หวาย) ซึ่งส่วนมากมีลำต้นยาวเป็นเถาเลื้อย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มักมีหนามที่กาบใบ ก้านใบ แกนใบ ผลเป็นเกล็ด เมล็ดขรุขระไม่เรียบ มีเยื่อนุ่มหุ้มหวาย ประโยชน์ของหวาย 1. ลำต้นนำมาจักสานเป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น โต๊ะ ม้านั่ง เตียงนอน เป็นต้น มักใช้หวายขนาดใหญ่ เช่น หวาย โป่ง หวายกำพวน หวายข้อดำ หวายตะค้าทอง เป็นต้น 2. ใช้จักสานเป็นเครื่องเรือน เครื่องใช้ เช่น ถาด ตะกร้า หมวก มักใช้หวายขนาดเล็กที่เหนียว และโค้ง งอได้ดี เช่น หวายกาหลง หวายหอม หวายดง หวายขี้บาง หวายพุน เป็นต้น 3. ใช้จักสานเป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น ฝ้า ผนัง หน้าต่าง มักใช้หวายขนาดใหญ่ 4. ลำต้นแก่จัด กรีดเป็นเส้น แล้วตากแห้ง นำมาใช้ทำเป็นเชือกคล้องช้าง คล้องโค หรือทำเป็นเชือกรัดของ เชือกมัด เชือกชัก เป็นต้น ในประเทศไทยมี ๗ สกุล ได้แก่ ๑. สกุลหวายตะค้า มีลักษณะเด่น คือ เป็นปาล์มที่ออกดอกเป็นผลได้หลายครั้ง ส่วนใหญ่ไม่มีแส้หนาม ที่ปลายใบเช่น หวายขี้ผึ้งหวายตะค้าทอง หวายเล็ก หวายกำพวน ๒. สกุลหวายพาลี มีลักษณะเด่น คือ เป็นปาล์มที่ออกดอกเป็นผลได้หลายครั้ง ปลายใบมีแส้หนาม ได้แก่ หวายพาลีใบใหญ่และหวายพาลีใบเล็ก ๓. สกุลหวายพน มีลักษณะเด่น คือ เป็นปาล์มที่ออกดอกเป็นผลได้หลายครั้ง ปลายใบมีแส้หนามสำหรับ ใช้เกาะต้นไม้อื่นเพื่อพยุงลำต้น เช่น หวายขี้เป็ด หวายพนขนหนอน ๔. สกุลหวายเดา มีลักษณะเด่น คือ ตามข้อของลำหวายมีตาขนาดใหญ่ มักแตกกิ่งไปตามเรือนยอด ปลายใบมีแส้หนามเช่น หวายเดาใหญ่ หวายกุ้ง ๕. สกุลหวายช้าง มีลักษณะเด่น คือ กาบใบมีเกล็ดสีน้ำตาล และมีหนามขนาดใหญ่เรียงเป็นวงคล้ายหวี ปลายใบมีแส้หนาม ได้แก่ หวายช้าง ๖. สกุลหวายกำพด มีลักษณะเด่น คือ ออกดอกเป็นผลครั้งเดียวแล้วตายไป รอบข้อของลำต้นมีรากหรือ ตุ่มของรากเช่น หวายใหญ่ หวายกำพด ๗. สกุลหวายแดง มีลักษณะเด่น คือ ผิวของลำหวายเป็นสีม่วงแดง ออกดอกเป็นผลครั้งเดียวแล้วตายไป ได้แก่ หวายกุ้ง หวายแดง ภาพที่ 1 ภาพย่านหวาย และหวายที่ลอกเปลือกไว้สำหรับทำเชือก หวายแดงกับประเพณีลากพระทางน้ำ หวายแดง ผิวของลำหวายเป็นสีม่วงแดง เป็นหวายที่มีอยู่บนเทือกเขาสูงในป่าลึก เป็นหวายชนิดเดียวที่ช้างไม่กิน เนื่องจากเมื่อทานไปแล้วจะมีอาการเมาเนื่องจากมีสารบางอย่าง หวายแดงเหมาะสำหรับการทำเชือกลากพระในสมัยโบราณ ประเพณีลากพระทางน้ำจะใช้เชือกจากหวายแดง นำมาควั่นกันโดยนำเปลือกนอกของหวายจำนวน ๔ เส้นมาควั่นให้เป็น เชือกเส้นเดียว จะมีความเหนียว ทนทาน ใช้ในประเพณีได้หลายปีจนกว่าจะขาด แต่เนื่องจากปัจจุบันหวายแดงหายากมาก ต้องขึ้นไปหาบนเทือกเขาสูง จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนไปใช้เชือก มะลิลาแท้ที่มีความเหนียว ทนทาน และมีระยะเวลาในการใช้งานยาวนานมาก มาใช้ทนแทนเชือกจากหวายแดง ขั้นตอนการควั่นเชือกจากหวายแดง 1. ลอกเปลือกหวาย 2. นำหวายจำนวน 4 เส้น ควั่นเป็น 1 เส้น จนได้เชือกหวายจำนวน 2 เส้น ยาวพร้อมใช้ลากพระ 3. นำไปใช้ผูกดึง ลาก ชัก ในประเพณีลากพระทางน้ำ



 

Icon
ประเภทวัฒนธรรม

จับต้องไม่ได้ : InTangible.

Icon
หมวดหมู่วัฒนธรรม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม : TC : Traditional Craftsmanship ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น
.

Icon
ที่ตั้ง

เลขที่ : ต. ท่าดี อ. ลานสกา จ. นครศรีธรรมราช 80230

Icon
ชื่อผู้ให้ข้อมูลหรือชื่อกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

Icon
ช่องทางติดต่อผู้ให้ข้อมูล

Icon
ผู้บันทึกข้อมูล

ขวัญตา หนูปล้อง : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช : 2566 Festival

Icon
แหล่งข้อมูอื่น ๆ
-

มีผู้เข้าชมจำนวน :140 ครั้ง
บันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ : 02/10/2023 - ปรับปรุงล่าสุดวันที่ : 28/01/2025